หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ความเจริญงอกงามของงานศิลปหัตถกรรม สมัยรัตนโกสินทร์ (1)
Object นิตยา กนกมงคล. "ความเจริญงอกงามของงานศิลปหัตกรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ (1)," พิพิธภัณฑสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 : มกราคม-มีนาคม 2550 : หน้า 4-7. Call number
Object เยาวนุช เวศร์ภาดา. "ช่างสิบหมู่ : การฟื้นฟูเอกลักษณ์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 4," ประณีตศิลป์ : มรดกแผ่นดินสยามประเทศ. กรุงเทพฯ : แปลน โมทิฟ สตูดิโอ, 2548. หน้า 43. Call number NB1135 ย-ป 2548
Summary สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีการตั้ง "กรมช่างสิบหมู่" เพื่อดูแลและส่งเสริมศิลปกรรมและงานช่างฝีมือไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งไปจัดแสดงในงานแสดงศิลปหัตถกรรมโลก ที่ ชังป์ เดอ มารส์ (Champ de Mars) ประเทศฝรั่งเศส ตามคำเชิญของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เมื่อ ค.ศ.1867 (พ.ศ.2410) ความสำเร็จของงานทราบได้จากบันทึกความประทับใจ นิทรรศการสยามของเอเตียน กาลลัวซ์ (Le Royaume de Siam au champ de Mars en 1878et a la Cour de Versailles en 1686, Deux Rois de Siam) ผู้เข้าชมงานในครั้งนั้น
"...พระองค์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงเลือกเฟ้นส่งศิลปวัตถุและอุตสาหกรรมอันเป็นงานฝีมือแห่งประชาราษฎร์ของพระองค์ มาเพื่อเป็นการแสดงให้ประจักษ์ถึงความสามารถในการประดิษฐ์แห่งช่างฝีมือของชาติ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นในพระบรมมหาราชวังที่บางกอกเอง ซึ่งมีทั้งโรงงานและที่อยู่อาศัยของช่างฝีมือ ช่างเหล่านี้มีความเป็ยอยู่อย่างสุขสบาย จึงมีความคิดที่จะผลิตสิ่งดงามออกมาได้ดีกว่าที่อื่น..."
เยาวนุช เวศร์ภาดา กล่าวถึงช่างสิบหมู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...งานศิลปะไทยในแขนงต่างๆ พบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ เป็นช่วงแห่งการปฏิรูปสู่ความทันสมัยจากอิทธิพลศิลปะตะวันตกที่แพร่เข้ามาสู่สยามประเทศ กรมช่างสิบหมู่ ในรัชสมัยนี้มีทั้งฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า หรือพระมหาอุปราช) และวังหลวง เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวังบวรสถานมงคล ดำรงพระอิศริยยศเสมอด้วย "วังหลวง" หรือ องค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงมี "กรมช่างสิบหมู่" แยกอยู่ทั้งในฝ่ายวังหลวงและวังหน้า (เดิม "ช่างวังหน้า" จะไม่สร้างงานให้วิจิตรเสมอด้วยวังหลวง) นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีโรงเรียนสอนวิชาช่างประดับกระจก ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ ซึ่งกรมขุนราชสีหวิกรม เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ได้ดำเนินการท่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 นับได้ว่าเป็นโรงเรียนแห่งแรกในพระบรมมหาราชวังที่สอนวิชาช่างสิบหมู่..."

ืัีที่มา:
นิตยา กนกมงคล. "ความเ้จริญงอกงามของงานศิลปหัตกรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ (1)," พิพิธภัณฑสาร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 : มกราคม-มีนาคม 2550 : หน้า 4-7.
เยาวนุช เวศร์ภาดา. "ช่างสิบหมู่ : การฟื้นฟูเอกลักษณ์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 4," ประณีตศิลป์ : มรดกแผ่นดินสยามประเทศ. กรุงเทพฯ : แปลน โมทิฟ สตูดิโอ, 2548. หน้า 43.