หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
Object พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547. Call number DS581 พ 2547
Object สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 8 Call number DS568 ม-ส 2542
Summary สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกในงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่า พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ ทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล พระองค์ทรงวางรากฐานที่จะนำวิทยาการ ใหม่ของตะวันตก ตลอดจนความรู้ทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศอย่างระมัดระวัง และดัดแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศ สิ่งใดแปลกใหม่แม้ไม่ทรงได้เคยรู้มาก่อนก็ทรงตั้งพระทัย ติดตามศึกษาหาความรู้ด้วยน้ำพระทัยของนักวิทยาศาสตร์
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ไทยมีการประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาหาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้ตกลงมีมติเลือกวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณคาดหมายไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 อนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมา และได้ประกาศยกย่องว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

ที่มา :
พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547.
ศิริพร ดาบเพชร. เจาะเวลาตามรอยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2547. หน้า 244-252.
ศตวรรษสมัย. “สุริยุปราคา ในประวัติศาสตร์ไทย,” สยามอารยะ. ปีที่ 3, ฉบับที่ 32 (ก.ย. 2538), หน้า 19-40.
สุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์. “ประจวบคีรีขันธ์, จังหวัด,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 8, บุหลันลอยเลื่อน, เพลง - พรหมพิราม, อำเภอ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542. หน้า 3513-3527.