หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title กินนรี : สุนทรียภาพในงานศิลปะและวรรณกรรม
Object กินนรี Call number PN6071.A7 พ-ก 2549
Summary การวาดรูปกินนรในสมัยนี้พบหลักฐานปรากฎในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี ในชาดกเรื่อง พระสุธน-มโนห์รา และภัลลาติกะ ลักษณะมีทั้งร่างกายเป็นคนใส่ปีกหางและครึ่งคนครึ่งนก
ต่อมาในสมันรัตนโกสินทร์ตอนต้น งานศิลปะที่เกิดขึ้นมีรูปแบบของงานศิลปะจากหลายสำนัก หรือหลายสกุลเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรูปแบบของงานศิลปะขึ้น 2 ประเภท คือ รูปแบบดั้งเดิม เช่น สกุลช่างอยุธยา สกุลช่างธนบุรี เป็นต้น และรูปแบบใหม่ที่รวมสกุลช่างเข้าด้วยกัน กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเริ่มแรกของงานศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างแท้จริง ดังนั้นรูปกินนรที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 1-3 จึงมีรูปแบบที่ผันแปรไปตามศิลปะนิยมในแต่ละสมัย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปะมีการปรับแบบแผนเนื่องจากมีการหลั่งไหลทางวัฒนธรรมของชาวต่างเข้ามา
เช่น งานจิตรกรรม มีการเขียนภาพตึกรามบ้านช่องเป็นแบบยุโรป ส่วนกินนรที่วาดขึ้นในสมัยนี้มีการผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตกเข้าด้วยกัน มีการเขียนฉากหลังให้มีระยะใกล้ไกล สีสันต่างๆ เป็นแบบตะวันตก ดังที่ปรากฎที่วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา และวัดเปาโรหิต เป็นต้น
งานประติมากรรม ได้ทรงให้แก้ไขพระพุทธรูปให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น (ไม่มีพระเกตุมาลา และให้มีจีวรเป็นริ้ว) และมีการสร้างรูปเหมือนพระมหากษัตริย์ตามหลักกายวิภาคศาสตร์แบบตะวันตก มีผลทำให้การปั้นรูปพระบรมราชานุสรณ์
ซึ่งเดิมสร้างแบบพระพุทธรูป มาเป็นการปั้นแบบเหมือนจริง

ที่มา :
พรชีวินทร์ มลิพันธุ์. กินนรี : สุนทรียภาพในงานศิลปะและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2549. หน้า 22-86. น. ณ ปากน้ำ. วิวัฒนาการลายไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2550. หน้า 227-229.