หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ภาณพระ ดู ภาณยักษ์
Object สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 10, พิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ - มอญในภาคกลาง Call number DS568 ม-ส 2542
Summary ภาณยักษ์ เป็นข้อธรรมหมวดหนึ่งสำหรับพระสงฆ์สาธยายในพิธีที่ประสงค์จะให้เป็นการระงับดับภัยอันตรายนานาแก่มนุษย์ทั้งปวง ภาณยักษ์และภาณพระนี้โดยธรรมเนียมทางศาสนาและในทางราชการแต่ก่อนเรียกว่า “ภาณวาร” ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯให้เปลี่ยนการสวดภาณวารมาเป็นในส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เหมือนสวดภาณวารในพระราชพิธีอื่นๆ คือ ตั้งเตียงสวดที่ท้องพระโรง พระสงฆ์ผลัดกันขึ้นสวดสำรับละ 4 รูป สวดทีละ 2 รูป มีพระเถระนั่งปรกอยู่เตียงหนี่งต่างหากอีกองค์หนึ่ง สวดภาณวารทั้งกลางวันกลางคืน ตลอด 3 วัน 3 คืน ถ้าเป็นพิธีอย่างน้อยก็สวดวันกับคืนหนึ่ง พระสงฆ์ที่สวดภาณวารนั้น ถ้าเป็นพิธีใหญ่ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชาคณะสวด ถ้าเป็นอย่างสามัญพระพิธีธรรมสวดเป็นประเพณีมาจนปัจจุบัน

พระพิธีธรรม เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้เรียกพระสงฆ์ที่สวดภาณวารในพิธีตรุษในสมัยนั้น พระพิธีธรรมมีอยู่ 10 สำรับ สำรับละ 4 รูป วัดที่มีพระพิธีธรรมจะต้องเป็นพระอารามหลวง และมีเพียง 10 วัดเท่านั้น คือ วัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วัดจักรวรรดิราชาวาส, วัดสุทัศนเทพวราราม, วัดประยุรวงศาวาส, วัดอนงคาราม, วัดราชสิทธาราม, และวัดระฆังโฆสิตาราม

ที่มา:
จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. “ภาณพระ ดู ภาณยักษ์,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 10, พิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ – มอญในภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542. หน้า 4715-4718.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. “พระพิธีกรรม,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 10, พิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ – มอญในภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542. หน้า 4082-4083.