หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ลุ่มน้ำแม่กลอง : ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
Object ลุ่มน้ำแม่กลอง : ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ "เครือญาติ" มอญ Call number DS731 ล 2547
Summary รัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองภาษีเจริญ จากเมืองธนบุรีไปยังแม่น้ำท่าจีน แล้วก็ขุดคลองดำเนินสะดวก จากแม่น้ำท่าจีนไปยังแม่น้ำแม่กลองในเขตจังหวัดราชบุรี นับเป็นการขยายเส้นทางคมนาคมทางน้ำเพื่อการขนส่งทางด้านเศรษฐกิจ เป็นผลให้มีการขยายตัวของชุมชนจากแม่น้ำท่าจีน ไปตามลำคลองดำเนินสะดวก ไปยังแม่น้ำแม่กลอง
กลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองดำเนินสะดวกตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองในเขตจังหวัดราชบุรีถึงเขตจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มหนึ่งก็คือพวกคนจีน คนเหล่านี้เมื่อเข้าไปผสมผสานกับคนไทยแล้ว ก็ร่วมกันทำสวนผลไม้ ปลูกผัก ทำอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลมะพร้าว จนเกิดเป็นย่านชุมชนริมน้ำที่มีอาชีพเป็นชาวสวนมากมาย
ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์ กล่าวว่า "..นอกกำแำำพงเมืองฝั่งธนบุรีเป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก ใช้ทำนา ทำสวน ยิ่งในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำ ยิ่งทำให้สวนผลไม้ขยายกว้างออกไปถึงตำบลบางช้าง เขตแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ดังคำโบราณที่เรียกขานว่า "สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง" ...และมีการเก็บอากร เป็นต้น โดบผู้ที่ทำหน้าที่เก็บอากรดำรงตำแหน่ง "นายระวาง กรมพระคลังสวน" หรือชาวบ้านเรียกว่า "เสมียนเดินสวน" มีหน้าที่ตรวจนับจำนวนต้นผลไม้ในสวนที่ต้องเสียอากร..."

ที่มา:
ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. "วิวัฒนาการของสวนผลไม้ในประเทศไทย," วารสารไทย. ปีที่ 28 ฉบับที่ 104 : ตุลาคม-ธันวาคม : 62-69.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ลุ่มน้ำแม่กลอง : ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ "เครือญาติ" มอญ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547. หน้า 62-63.