หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title หนังสือที่ระลึก วันตรงกับวันเสด็จสวรรคตใน พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, 7 มกราคม 2551
Object หนังสือที่ระลึก วันตรงกับวันเสด็จสวรรคตใน พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, 7 มกราคม 2551 Call number DS581 พ 2551
Object เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 200 ปี พระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว Call number
Summary พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชมารดาคือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือเป็นที่รู้จักอย่างดีคือ เจ้าฟ้าน้อย
พระบวรฉายาลักษณ์ของพระองค์ส่วนใหญ่ทรงฉลองพระองค์ในเครื่องแบบนายทหารเรือตะวันตก (แม่ทัพเรือ) เรียกว่า ชุดเต็มยศใหญ่ ประกอบด้วยพระมาลาเป็นหมวกแบบก๊อกแฮท ตัวเสื้อแขนยาว ลำตัวยาวและคอปิดแบบฟรอกโค๊ต อินทรธนูแบบเอโปเลตต์ รัดประคดคาดนอก พระสนับเพลาแถบทอง รองเท้าหนัง ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และทรงพระแสงกระบี่
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นรูปพระจุฑามณี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีพระฉัตรตั้งอยู่ 2 ข้าง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงประทับตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ในหนังสือสำคัญทางราชการในฐานะพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง
บทบาทของพระองค์ต่อการพัฒนาการทหาร อันได้แก่ พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทหารบก ทรงสั่งสมและจัดสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะปืนใหญ่ทรงสามารถหล่อปืนใหญ่จากเหล็กได้ด้วย ทรงพระราชนิพนธ์ตำราปืนใหญ่ ชื่อว่า “ ตำราขิปปนะวิธีการยิงปืนใหญ่” ขึ้นในปี พ.ศ.2384 ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์เพิ่มเติม กล่าวถึง ตำนานปืนใหญ่ ทำเนียบนามปืนใหญ่ ตำราทำดินปืนและการยิงปืนใหญ่ พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทหารเรือ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับญวน ทรงสร้างป้อมรักษาปากแม่น้ำ ทรงสั่งสมและจัดสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านการทหารเรือ และทรงพัฒนากำลังพล
การสักการบูชาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โดยกลุ่มผู้ที่เคารพเทิดทูนพระองค์ ได้จัดทำกิจกรรมดังนี้
(1) สร้างพระบวรราชานุสาวรีย์ มีทั้งหมด 4 แห่ง คือ ณ โรงละครแห่งชาติ, โรงพยาบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ, วัดเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา และที่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
(2) สร้างพระบวรรูปและเหรียญเป็นที่ระลึกในวาระต่างๆ
(3) อัญเชิญพระบวรนามาภิไธยเป็นนามของสิ่งก่อสร้างและสถานที่สำคัญ เช่น เรือที่รัฐบาลอเมริกามอบให้กองทัพเรือเมื่อ พ.ศ. 2502 ให้ตั้งชื่อเรือนี้ว่า เรือหลวงปิ่นเกล้า ตั้งชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าช้างวังหน้าว่า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
(4) จัดตั้งชมรมและมูลนิธิ เช่น ชมรมกองทุนพระบวรราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, มูลนิธิพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร, มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า, มูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี
(5) จัดงานวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบวรราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โดยในวันที่ 7 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ได้มีการจัดงาน ณ พระบวรราชานุสรณ์ทั้ง 4 แห่ง เป็นปะจำทุกปี

ที่มา:
หนังสือที่ระลึก วันตรงกับวันเสด็จสวรรคตใน พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, 7 มกราคม 2551. กรุงเทพฯ : จันวาณิชย์, 2551.
"เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 200 ปี พระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว." สยามรัฐ. ฉบับวันที่ 13 กันยายน 2551, หน้า 5.