หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ปลาสองแผ่นดิน จากไนล์สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
Object นวรัตน์ เลขะกุล. (2550). "ปลาสองแผ่นดิน จากไนล์สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา," 120 ปี ทวิภาคสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). Call number JX1579.5 ส-ห 2550
Summary ในบทความนี้กล่าวถึงการเสด็จประพาสญี่ปุ่นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในปี พ.ศ. 2506 และประทับอยู่นานพอที่จะทรงทราบถึงความเป็นเอตทัคคะของเจ้าฟ้าชายมกกุฎราชกุมารอากิฮิโต (พระยศในขณะนั้น) ว่าทรงมี พระทัยหนักไปในทางที่โปรดการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์น้ำและการประมงไม่เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นแต่ทรงรอบรู้พันธุ์ปลาต่างๆ ในโลกเป็นอย่างดีและในขณะเดียวกันเจ้าฟ้าชายมกกุฎราชกุมารอากิฮิโตก็ทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังสนพระทัย จะแพร่ขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่เลี้ยงง่ายโตเร็วแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนมาตั้งแต่ครั้งนั้นเช่นกัน และจากข้อมูลสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่ทรงทราบทำให้เจ้าฟ้าชายมกกุฎราชกุมารอากิฮิโตเลือกพันธุ์ปลาที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชสงค์ ปลาที่กล่าวนี้เป็นปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในแม่น้ำไนล์ พระองค์จึงมีรับสั่งให้จัดหา และหลังจากจัดเตรียมลูกพันธุ์ปลาแท้จำนวน 50 ตัว ก็ทรงส่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ศึกษาอัตราการเติบโตและแพร่พันธุ์ต่อไปจนครบ 1 ปี
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509พระองค์ทรงมอบลูกปลาจำนวน 10,000 ตัวให้กรมประมงนำไปเลี้ยงตามสถานีทดลองทั่วราชอาณาจักร จำนวน 15 แห่ง พร้อมกับพระราชทานชื่อปลาตามลักษณะเฉพาะของปลาที่มีลายเป็นบั้งพาดขวางลำตัวสีดำมีครีบสีน้ำเงินดำประจุดขาว ว่า "ปลานิล" อันเป็นภาษาบาลีซึ่งแปลว่า "ดำ"
มากยิ่งไปกว่านั้นยังโปรดให้ผสมปลานิลกับปลาหมอเทศเพื่อนำเอาลักษณะดีเด่นของแต่ละสายพันธุ์มารวมกันทำให้เกิดปลานิลพันธุ์ใหม่ขึ้น มีสีออกไปทางสีแดง จึงพระราชทานชื่อว่า "ปลานิลสีแดง"
ในช่วงปี พ.ศ. 2509 - 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพันธุ์ปลานิลจำนวน 500,000 ตัว ผ่านองค์การยูนิเซฟเพื่อ ร่วมโครงการรณรงค์ต่อต้านความหิวของสหประชาชาติเพื่อเพิ่มอาหารโปรตีนให้กับพลเมืองของประเทศบังคลาเทศ
ที่มา : นวรัตน์ เลขะกุล. (2550). "ปลาสองแผ่นดิน จากไนล์สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา," 120 ปี ทวิภาคสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).