หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร
Object ศานติ ภักดีคำ. ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ, 2550. Call number PN45 ศ-ค 2550
Summary ไทยและกัมพูชา มีความสัมพันธ์กันมานาน จากงานเขียนของศานติ ภักดีคำ ได้กล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1893 ได้พยายามขยายอาณาเขตเข้าไปในราชอาณาจักรกัมพูชา
ครั้นในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2311-2325) พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงกัมพูชาหากไม่สำเร็จ ครั้นในปีพ.ศ.2313 ทรงยกทัพไปตีกัมพูชา และสามารถตีเมืองพุธไธเพชร (บันทายเพชร-อุดงค์ฦาชัย) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ กัมพูชาสมัยนั้นได้ในปี พ.ศ.2314 จึงโปรดให้พระองค์รามาธิบดี (พระองค์นนท์) เป็นเจ้ากรุงกัมพูชาทรงพระนามว่า พระรามาธิบดี ต่อมาเกิดเหตุความวุ่นวายในกัมพูชาขึ้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีจัดกองทัพไปกัมพูชา หากเกิดเหตุการณ์จราจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนกองทัพจากกรุงธนบุรีจึงยกกองทัพกลับ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2407 และได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กรุงพนมเปญ ต่อมาในปี พ.ศ.2427 รัฐบาลฝรั่งเศสได้เข้าควบคุม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การศึกษา วัฒนธรรม
ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านวรรณคดีไทย-เขมร พบว่ามีการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางวรรณกรรมกันไปมาเช่น ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น นิราศ บทพากย์ ส่วนวรรณคดีศาสนาปรากฎหลักฐานว่า สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง ผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิาสมภารของไทย) ทรงขอพระราชทานพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการแปลวรรณคดีพุทธศาสนาของไทยเป็นภาษาเขมร เป็นต้น

ที่มา :
ศานติ ภักดีคำ. ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ, 2550.