หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ประวัติตำรวจไทย
Object สำนักงานตำรวจแห่งชาติ."ประวัติตำรวจไทย," ใน รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2550. หน้า 1-21. Call number JQ1746.Z3ตช ส-ร 2550
Summary จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า หน่วยงานและบุคคลที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับตำรวจมีมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นอิสระเช่นปัจจุบัน แต่เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อองค์พระมหากษัตริย์ โดยเป็นตำรวจของพระมหากษัตริย์ เพราะมีหน้าที่ที่ จะต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์อีกประการหนึ่ง ภาระกิจและหน้าที่ของตำรวจสมัยสุโขทัยเป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดปลีกย่อยเสียเป็นส่วนมาก เพราะประชากรน้อย บ้านเมืองมีกำแพงล้อมทั้ 4 ด้าน โจรผู้ร้ายมีน้อยจนเกือบไม่มี ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหากราษฎรคนใดมีความเดือดร้อนประการใดก็ให้ไปสั่นกระดิ่งเมื่อทรงทราบแล้ว จะทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้าร้องทุกข์ด้วยตนเอง พระองค์จะไต่ถามเพื่อทรงพิจารณาแก้ไขช่วยเหลือตามควรแก่กรณี
ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ทรงแบ่งอำนาจหน้าที่และมอบให้ข้าราชการของพระองค์เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านต่างๆ เช่น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแบ่งส่วนราชการเป็นฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ซึ่งแบ่งเป็น เวียง วัง คลัง และนา คราวนั้นกรมพระตำรวจ เป็นเจ้าหน้าที่ปฎิบัติหน้าที่แวดล้อมประจำการในตำแหน่งที่ใกล้เคียงองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นผู้ซึ่งจะมีอาวุธเข้ามาในท้องพระโรงได้พวกเดียว กองตำรวจที่ทำหน้าที่เป้นทหารรักษาพระองค์ เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นมาใน รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ
ตำรวจในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ตำรวจมีบทบาทเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ เป็นตำรวจของพระมหากษัตริย์ปฎิบัติหน้าที่ตามพระบรมราชโองการ ปรากฎตำรวจเสวก ทำหน้าที่รักษาความสงบภายในบริเวณพระราชฐาน ส่วนตำรวจผู้รับสนองพระบรมราชโองการลงพระราชอาญาผู้กระทำผิดได้แก่ ขุนตำรวจ ทำหน้าที่ เป็นศาลรับสั่งชำระและพิพากษาคดี
ตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ปรากฎว่า มีกรมพระตำรวจ ปฎิบัติหน้าที่รักษาพระองค์ ในเขตพระบรมมหาราชวัง ถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัติรย์ทั้งในพระบรมมหาราชวังและในขบวนเสด็จพระราชดำเนิน
ตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ยังใช้ระเบียบแบบแผนเดิมครั้งในรัชกาลก่อน
ตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นยุคแห่งการปฎิรูปกิจการตำรวจ เนื่องมาจากการแผ่อิทธิพลของชาติตะวันตกที่เริ่มเข้ามาทำสนธิสัญญากับไทยโดยเฉพาะตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ในปีพ.ศ.2403 (ร.ศ.79) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ (Captain Sammual Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศ ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศแทนข้าหลวงกองจับและกองตระเวณซ้ายขวา โดยจ้างแขกมลายู และแขกอินเดียมาเป็นตำรวจ เรียกว่า "กองโปลิศคอนสเตเปิ้ล"
ส่วนตราของแผ่นดินที่หมวกของตำรวจ เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 ตราหน้าหมวกประกอบเครื่องแบบของตำรวจมีรูปแบบต่างๆ อาทิ
การใช้เครื่องแบบสีน้ำเงิน นุ่งกางเกงและผ้าม่วงโดยสวมหมวกยอด (Helmet) ต่อมาใช้ชุดสีกากี สวมหมวกสีดำมีลักษณะคล้ายหมวกแก๊บ แต่ไม่มีกระบังแดด มีจุกสีแดง สำหรับตราหน้าหมวกชั้นประทวน ทำด้วยโลหะสีเงิน เป็นีูปกงจักรวางอยู่้บนกลีบบัวหงาย ภายในเป็นรูปช้างสามเศียร อยู่ตรงกลางอาร์มและมีอักษร "กรมกองตระเวน" อยู่ีที่ขอบกงจักร ส่วนชั้นสัญญาบัตรจะเพิ่มพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นต้น
ตำรวจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ตำรวจนำไปปฏิบัติได้แก่ โครงการจราจรตามพระราชดำริ โครงการจตุรทิศ โครงการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ปีพ.ศ.2541 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ที่มา :
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. "ประวัติตำรวจไทย," ใน รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2550. หน้า 1-21.