หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 3
Object Call number
Summary เครื่องปั้นดินเผาในภาคกลาง สมัยธนบุรีซึ่งตรงกับช่วง พ.ศ. 2311-2325 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์ที่กรุงธนบุรีจึงเริ่มขยายการทำการค้ากับจีน ระยะนั้นไทยต้องสั่งซื้อเครื่องถ้วยชามจากจีนเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่เป็นชามเบญจรงค์ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ ข้างในเคลือบสีขาว ไม่เคลือบเขียวเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา(หน้า 1131)
เงินตราไทย เงินพดด้วงสมัยธนบุรีนั้นมีลักษณะเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือมีรอยรูปไข่ขึ้นแทนขาข้างใดข้างหนึ่งของเงินพดด้วง เรียกว่า "รอยเม็ดข้าวสาร" เชื่อกันว่าตราตรีเป็นตราประจำราชการส่วนตราประจำแผ่นดินยังคงใช้ตราจักรซึ่งมีลักษณะคล้ายใบจักรเป็นกลีบ(หน้า1300)
จันทบุรี, จังหวัด เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเป็นเมืองที่พระเจ้าตากสินยกทัพมาตั้งมั่นก่อนไปตีเมืองธนบุรีและค่ายโพธ์สามต้นสำเร็จและกู้เอกราชของชาติไทยได้จึงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองจันทบุรีจึงเป็นเมืองท่าและเมืองเศรษฐกิจสำคัญแถบตะวันตก สินค้าพื้นเมืองนั้นเป็นสินค้าหายาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ถูกจัดส่งเป็นเครื่องบรรณาการและขายแก่จีนอีกทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านเพราะมีอาณาเขตติดกับกัมพูชาในสมัยนั้น (หน้า1407)

ที่มา :
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 3, ค้างคาวกินกล้วย,เพลง-จิตรกรรมกระบวนจีน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.