หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title ปี่พาทย์
Object Call number
Summary ปี่พาทย์ เป็นคำประสมระหว่างคำไทยคือ คำว่า ปี่ (เครื่องเป่า) กับคำบาลีสันสกฤตว่า วาทย (เครื่องตี) ปรากฎหลักฐานว่าใช้กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า ปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัย ประกอบด้วยฆ้อง ปี่ กลองทัด ตะโพน และฉิ่ง ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เพิ่มระนาดเอกเข้าไป 1 ราง แต่ยังคงเรียกว่า ปี่พาทย์เครื่องห้า เพราะบางครั้งใช้กลองทัดด้วย บางครั้งใช้ตะโพนอย่างเดียว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เพิ่มระนาดทุ้ม และฆ้องวงเล็กเข้าไป ทำให้เกิดเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเติม ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก เกิดเป็นปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ลักษณะเด่นของปี่พาทย์คือ มีปี่บรรเลงนำร่วมกับเครื่องตี โดยใช้ไม้แข็งตี เพื่อให้เกิดเสียงแจ่มจ้าดังกึกก้อง และมักจะบรรเลงในที่เปิด

ที่มา :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "ความหมายของปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์," การแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.