หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการแซยิด
Object วีรวัลย์ งามสันติกุล. "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการแซยิด," ศุภวัฒย์-ศุภาวาร จุลพิจารณ์. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า, 2547. หน้า่ 164-175. Call number DS571 ศ 2547
Summary คุณวีรวัลย์ งานสันติกุล กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการแซยิด ไว้ว่า "... แซยิด เป็นธรรมเนียมที่ไทยรับมาจากจีน โดยตามธรรมเนียมจีน ถือว่าการที่บุคคลมีอายุเจริญเข้าสู่ปัจฉิมวัย นับได้ว่าเป็นผู้มีบุญวาสนา ใน 3 สิริมงคล ของจีน คือ ฮก ลก ซิ่ว หมายถึง โชค ลาภ อายุยืน แซยิด หรือ จ่อแซยิด จะจัดเมื่อบุคคลมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หรือ 5 รอบนักษัตร
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทยที่จัด งาน "แซยิด" อย่างพระเจ้าแผ่นดินจีน และทรงจัดเมื่อพระชนมายุครบรอบ 60 ปี ตามวิธีสุริยสงกรายต์ รอบพระอาทิตย์ 60 ครั้ง ทรงโปรดให้ทำบุญ ฉลองพระชนมพรรษา 60 ปี เมื่อวันพุธ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีชวด ฉศก (ตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2407 / จ.ศ.1226 / ร.ศ.83)
งานแซยิดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีขึ้นนั้นเป็น “งานฉลองอย่างใหญ่ป่าวร้องทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร หัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือ และพระราชอาณาจักร มีทั้งพิธีสงฆ์และการเฉลิมฉลอง โดยการจุดประทีปตามบ้านเรือนเรือแพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า คนทั้งปวงจะพากันสวดมนต์เลี้ยงพระในวันเฉลิมพระ ชันษาจะพากันซื้อเนื้อปลาสดมาทำบุญ ที่เคยฆ่าสัตว์ซื้อขายก็จะฆ่าสัตว์ซื้อขายชีวิตสัตว์ก็จะตายไปมากกว่ามาก ทรงพระมหากรุณาเมตตาแก่สัตว์ จึง ทรงประกาศห้ามคนทั้งปวงที่จะทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์ในการเฉลิมพระชันษา อย่าซื้อเนื้อปลาสดมาทำของเลี้ยงพระ ให้ใช้เครื่องเค็มตามกำลังที่จะหา ได้

ในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายฝ่ายใน การจัดงาน "แซยิด" ปรากฎหลักฐานเป็นภาพพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 60 ปี ของสมเด็จ พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

ธรรมเนียมปฎิบัติในสังคมเมื่อมีการจัดงานมงคล คือ คำอวยพรและของชำร่วย ดังเช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดงาน "แซยิด" ในพุทธศักราช 2407 ทรงพระราชทานของขวัญให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและขุนนาง ทรงพระราช ทานเหรียญทองคำตรามงกุฎหนัก 1 ตำลึง นอกจากนี้ทรงพระราชทานเงินให้แก่คนพิการและคนชราที่อายุร้อยปีลงมาถึงเจ็ดสิบปีอีกด้วย โอกาสเดียว กันนี้ทรงพระราชทานพรแก่ผู้ที่ได้ฉลองพระเดชพระคุณในการเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์พระราชทานพรแก่ผู้ที่มา ร่วมในงานเฉลิมพระชนพรรษา

การพระราชทานพรเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้าราชการฝ่าย หน้าฝ่ายใน และราษฎรทั้งในและนอกประเทศนั้น นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมที่ทรงปฎิบัติจนกลายเป็นพระราชประเพณีในงานเฉลิมพระ ชนมพรรษาของรัชกาลต่อๆ มาจนตราบทุกวันนี้

ที่มา :
วีรวัลย์ งามสันติกุล. "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการแซยิด," ศุภวัฒย์-ศุภาวาร จุลพิจารณ์. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า, 2547. หน้า่ 164-175.