หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475
Object Call number
Summary กล่าวถึงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ใช้เพื่อก่อให้เกิดความจงรักภักดี โดยอาศัยการถือน้ำสาบานต่อพักตร์พระมหากษัตริย์ แม้ปัจจุบันพระราชพิธีนี้จะคลายความสำคัญลงไปแล้ว แต่รูปแบบการสาบานถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ยังคงดดำรงอยู่ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความผูกพันธ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง นำเสนอความเป็นมาของพระราชพิธีและลิลิตโองการแช่งน้ำ
ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนุบรี ยังคงความเด็ดขาดเข้มงวดตามแบบแผนพระราชพิธีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามจดหมายเหตุของมองเซนเยอร์เลอบองเขียนว่า ในสมัยนั้นมิชชันนารีห้ามมิให้คนที่เข้ารีตกราบไหว้ตุ๊กตา ห้ามไปวัด และห้ามดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา เพราะผิดหลักศาสนา ในจำนวนนั้นมีขุนนาง 3 คนรวมอยู่ด้วย ทั้ง 3 คน พร้อมใจกันไม่ไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระองค์จึงลงโทษขุนนางและคุมตัวสังฆราชและบาทหลวง มาลงโทษ ขุนนางทั้ง 3 จึงยอมกลับใจมาถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แม้ต่อมาจะมีผู้เข้ารีตอีกหลายคน แต่ไม่มีใครขัดขืนอีก ความเคร่งครัดในบทลงโทษที่มีต่อผู้ละเมิดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงธนบุรี ยังมีอยู่มากไม่มีละเว้น แม้จะไม่ถึงขั้นกบฎ แต่โทษก็ยังรุนแรงจนต้องเกรงพระราชอาญา

ที่มา :
"พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475", สรรพสาระ : ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์. เล่ม 2 = Sarvasara : papers on history & humanities. Volume II. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. หน้า 137