Search

Title นักวิจัยมศว.พบปลาสายพันธุ์ใหม่ของโลกในนาข้าว จ.หนองคาย
Object Call number
Summary รศ.ดร.วิเชียร มากตุ่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นักวิจัยด้านมีนวิทยา ซึ่งเป็นการทำงานค้นคว้าวิจัยด้านสายพันธุ์ปลา เปิดเผยว่าขณะนี้ได้ทำการค้นพบสายพันธุ์ปลาในนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ของโลก ได้ตั้งชื่อว่า Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 พบในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือบริเวณพื้นที่ลาวตอนกลาง การค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่นี้บ่งบอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย การพบปลาชนิดนี้ในบริเวณไหนจะบอกให้รู้ว่าแหล่งงธรรมชาติบริเวณนั้นๆ ยังสมบูรณ์ ขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาไทย “ปลาในนาข้าวชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตรปลาชนิดนี้จะอยู่กันเป็นฝูงและจะหากินโดยหาตัวอ่อนของพวกยุงกินเป็นอาหารและยังกินตัวอ่อนของแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งถือเป็นการควบคุมความสมดุลของธรรมชาติ ถือเป็นการควบคุมทางชีววิทยาโดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในนาข้าวมากจนเกินความจำเป็น ทุกวันนี้เราพบปลาในนาข้าวทั้งสิ้น 24 สปีชี่ จากทั่วโลก Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 ถือเป็นสปีชี่ที่ 25ของโลก"รศ.ดร.วิเชียร กล่าว
รศ.ดร.วิเชียร กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพบปลาในนาข้าวมาแล้วทั้งสิ้น 4 สปีชี่ ถึงวันนี้การพบ Oryzias songkhramensis Magtoon,2010 จึงทำให้ประเทศไทยมีปลาในนาข้าวที่ค้นพบได้ทั้งสิ้น 5 สปีชี่ การค้นพบครั้งนี้จะทำให้วงการมีนะวิทยาเกิดการตื่นตัวมากขึ้น การค้นพบปลาในนาข้าวครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านมีนวิทยา ความรู้ทางด้านปลาในนาข้าวขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมาก โดยมหาวิทยาลัยมศว มีความร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น คือ ม.โตเกียว ม.มินาฮาตะ และม.ชินชู ศึกษาปลาในนาข้าวในแถบทวีปเอเชีย ”
รศ.ดร.วิเชียร กล่าวต่อไปว่า ทรัพยากรธรรมชาติของไทยมีหลายชนิดที่น่าสนใจและน่าศึกษา และ มีคามสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อยากให้คนไทยทุกคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะต้องช่วยกันรักษาแม่น้ำลุ่มน้ำเดิมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่านำปลาต่างถิ่นไปปล่อยลงในแม่น้ำ เพราะปลาต่างถิ่นจะมีลักษณะนิสัยที่ดุร้ายและจะทำร้ายกัดกินปลาพื้นถิ่น ปลาพื้นบ้านจะสู้ไม่ได้เพราะปลาต่างถิ่นจะดุดันมากกว่า ตอนนี้ปลาต่างถิ่นสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับลุ่มน้ำในประเทศไทยอย่างมาก เพราะปลาต่างถิ่นจะกินไข่ปลาพื้นถิ่น ฐานที่สุดแล้วปลาพื้นถิ่นจะสูญพันธุ์และส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาที่มีลักษณะพึ่งพิงอาศัยกัน จะเห็นว่าโรคระบาดต่างๆ จะมีมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุที่วงจรชีวิตด้านระบบนิเวศน์วิทยาทางน้ำบางวงจรถูกทำลายด้วยการนำปลาต่างถิ่นมาปล่อยในแม่น้ำ
ที่มา :
นักวิจัยมศว.พบปลาสายพันธุ์ใหม่ของโลกในนาข้าว จ.หนองคาย Breaking News เนชั่นชาแนล. ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2553.
ภาพจาก : วิกิพีเดีย