Search


เซกส์แทนต์


2. ทรงคำนวณวิธีการคิดอธิกมาส
พระองค์ทรงพบว่าตั้งแต่ปีกุน จุลศักราช 1093 ถึง ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1301 นั้น ทุกช่วงเวลา 19 ปี จะมีอธิกมาส 7 ครั้ง เช่น
- ปีกุน ตรีศก จุลศักราช 1093 ถึง ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1111 มีอธิกมาส 7 ครั้ง (ระยะห่าง 19 ปี)
- ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1112 ถึง ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช 1130 มีอธิกมาส 7 ครั้ง (ระยะห่าง 19 ปี) เป็นต้น พระองค์จึงทรงประกาศว่า อธิกมาสนั้น 19 ปี มี 7 ครั้ง คือ ปีที่ 3 ปีที่ 6 ปีที่ 9 ปีที่ 11 ปีที่ 14 ปีที่ 17 และปีที่ 19 หรือทรงกำหนดวิธีจำ ดังนี้ คือ 33, 32, 332 หรือจะใช้วิธีคำนวณโดยใช้ปีจุลศักราชตั้ง ลบด้วย 8 หารด้วย 19 ถ้าได้เศษ 3, 6, 9, 11, 14, 17 ปีนั้นจะมีอธิกมาส เดือน 8 สองหน เศษนอกนี้เป็นปีปกติ เป็นต้น

3. ทรงบัญญัติหน่วยวัดปริมาณน้ำฝน
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งจักรภพอังกฤษได้ส่งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เครื่องนี้มีหน่วยเป็นนิ้ว (อังกฤษ) ซึ่งมีความละเอียดกว่าหน่วยวัดของไทย แม้ฝนตกเพียงเล็กน้อยก็วัดได้ ดังนั้นพระองค์จึงทรงกำหนดหน่วยวัดใหม เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้
1 นิ้ว (อังกฤษ) แบ่งออกเป็น 100 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า สตางค์
สิบสตางค์ = ทสางค์
สิบทสางค์ = 1 นิ้ว ในขณะที่ 1 นิ้ว (ไทย) = 10 กระเบียด เป็นต้น

แผนที่ดาว

ทรงเลือกรับเทคโนโลยีจากตะวันตก
พระองค์ทรงทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศตะวันตก จึงทรงมีพระราชดำริในการนำเทคโนโลยีแบบตะวันตกมาปรับแต่ง เพื่อใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นที่ยอมรับ โดยทรงเลือกรับเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสภาพที่แท้จริงของสังคมในขณะนั้น เช่น เมื่อทรงโปรดเกล้าให้ขุนมหาสิทธิโวหาร ไปศึกษาการทำหนังสือพิมพ์ และ จมื่นจักรวิจิตรไปเรียนแก้นาฬิกา ณ ต่างประเทศ ทรงกำชับให้พิจารณานำสิ่งที่จะทำให้ “สิ่งไรที่ยากมาแต่ก่อนจะให้ง่ายเข้า สิ่งใดไม่สู้จะดีมาแต่ก่อน จะให้ดีขึ้นเข้ามา” ดังนั้นพระองค์จึงโปรดให้นำเทคโนโลยีจากตะวันตกเข้ามา ดังนี้

ด้านคมนาคม
ทรงโปรดให้สร้างถนน สะพาน และขุดคลอง เพื่อให้การคมนาคมสะดวก รวดเร็ว
ด้านการแพทย์
ทรงยอมรับการรักษาจากมิชชันนารี ทรงโปรดให้นำวิธีการรักษาแบบตะวันตกมาใช้กับราษฎร และทรงมีพระทนต์ปลอมที่ทำด้วยไม้ฝาง
ด้านการคลัง
ทรงโปรดให้สร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญแทนเงินพดด้วง และออกธนบัตรหรือหมาย กับใบพระราชทานเงินตก สำหรับจ่ายเบี้ยหวัดให้ข้าราชการ
ด้านอุตสาหกรรม
ทรงโปรดให้นำเครื่องจักรกลมาใช้ เพื่อให้งานสำเร็จดีและรวดเร็ว เช่น โรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร, โรงงานน้ำตาล
ด้านการพิมพ์
ทรงโปรดสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ เพื่อพิมพ์บทสวดมนต์ คำสอนทางศาสนา และราชกิจจานุเบกษา
ด้านภูมิศาสตร์
ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญทำแผนที่ราชอาณาจักรสยามฝั่งตะวันออก
ด้านสถาปัตยกรรม
ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังแบบฝรั่ง มีหอดูดาว มีครัวแบบฝรั่ง
ด้านการประชาสัมพันธ์
ทรงโปรดให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อส่งไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาอารยประเทศซีกโลกตะวันตก
ด้านการทหาร
ทรงสั่งซื้อปืน เพื่อใช้ในการรักษาพระนคร
ด้านการพาณิชย์
ทรงโปรดให้ต่อเรือกลไฟ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าไปค้าขาย