Search


การขยายโอกาสด้านการเรียนรู้สู่ราษฎรสามัญชน


สตรีโรงเรียนมิชชันนารีสมัย ร.4
ในชั้นเรียนที่ภรรยาหมอเฮาส์สอนหนังสือ
การตัดเย็บ และการซักรีดเสื้อผ้า
(ภาพจากหนังสือชุมนุมภาพประวัติศาสตร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
.2549. หน้า 156)

พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา ทรงสนับสนุนให้จัดการศึกษาสมัยใหม่ และทรงเป็นผู้เปิดโลกการเรียนรู้ของสามัญชนและสตรี เมื่อทรงตั้งโรงเรียนราชกุมาร และราชกุมารีขึ้นในพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงอนุญาตให้มิชชันนารีตั้งโรงเรียนขึ้น ทั้งในพระนครและหัวเมือง (เล่าเรื่องพระจอมเกล้า, 2547 หน้า 12) ซึ่งทั้งเจ้านาย และขุนนางต่างได้ส่งบุตร –ธิดา เข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก และเมื่อทรงตั้งโรงพิมพ์ ได้มีการพิมพ์ เอกสารราชการต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามสถานที่ราชการและชุมชน เพื่อให้ ราษฎรได้เรียนรู้ ต่อมามีการพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ได้แก่ หนังสือ จินดามณี ประถม ก.กา ประถมมาลา วิชาช่าง วิชาแพทย์ ทำให้การเรียนรู้ได้ขยายไปสู่ราษฎรสามัญชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ราษฎรสามัญชนจึงมีโอกาสได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา ทรงสนับสนุนให้จัดการศึกษาสมัยใหม่ และทรงเป็นผู้เปิดโลกการเรียนรู้ของสามัญชนและสตรี เมื่อทรงตั้งโรงเรียนราชกุมาร และราชกุมารีขึ้นในพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงอนุญาตให้มิชชันนารีตั้งโรงเรียนขึ้นทั้ง ในพระนครและหัวเมือง (เล่าเรื่องพระจอมเกล้า, 2547 หน้า 12) ซึ่งทั้งเจ้านายและขุนนาง ต่างได้ส่งบุตร –ธิดา เข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก และเมื่อทรงตั้งโรงพิมพ์ได้มีการพิมพ์เอกสาร ราชการต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามสถานที่ราชการและชุมชน เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้ ต่อมามีการพิมพ์ หนังสือออกจำหน่าย ได้แก่ หนังสือ จินดามณี ประถม ก.กา ประถมมาลา วิชาช่าง วิชาแพทย์ ทำให้การเรียนรู้ได้ขยายไปสู่ราษฎรสามัญชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ราษฎรสามัญชนจึงมีโอกาส ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น



โรงเรียนราษฎร์สำหรับนักเรียนสตรี ซึ่งมีคณะมิชชันนารีได้ตั้งขึ้นที่ จ.เพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ.2408 ปัจจุบัน คือ โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ (ภาพจากหนังสือสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม เล่มต้น. 2516. หน้า 156)