หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title สำนักดนตรีไทย : จากต้นรัตนโกสินทร์ถึงครูเลื่อน สุนทรวาทิน
Object ถาวร สิกขโกศล. ๒๕๕๐ . "สำนักดนตรีไทย : จากต้นรัตนโกสินทร์ถึงครูเลื่อน สุนทรวาทิน," ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๙ : กรกฎาคม ๒๕๕๐ : ๑๑๖-๑๓๖. Call number
Summary ในบทความนี้ได้กล่าวถึงประวัติครูเลื่อน สุนทรวาทิน (ศิลปินดนตรีไทยที่มีอายุยืนถึง ๔ แผ่นดิน (รัชกาลที่ ๖-๙) และครูเพลงดนตรีไทยอีกหลายท่านได้แก่ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ครูทัต (บุตรเจ้าพระยาพระคลัง (หน)? : เป็นครูขับร้องและมโหรีในบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเป็นศิษย์หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูล หรือ ครูแขก) ครูเส็ง สุนทรภู่ (ครูร้องและอ่านทำนองเสนาะ) ครูมีแขก (ผู้ร่วมราชสำนักกับสุนทรภู่) ครูเพ็ง ครูทั่งและครูช้อย (ต้นตระกูลสุนทรวาทิน) ครูช้อย (อัจฉริยศิลปินตาบอด) พร้อมประวัติความเป็นมาทางดนตรีไทยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ นิยมใช้มโหรีขับกล่อมและใช้ปี่พาทย์ประกอบการแสดงเหมือนในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เริ่มมีผู้นำปี่พาทย์ไปบรรเลงประกอบการขับเสภา และบรรเลงเพลงโหมโรงอย่างละคร ในสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ ดนตรีไทยมีพัฒนาการมาก ในด้านเพลงเกิดเพลงโหมโรงเสภา ๓ ชั้น และเพลงรับร้อง ๓ ชั้น ขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในรัชกาลที่ ๔ มีเพลง ๓ ชั้น ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก ในด้านเครื่องดนตรีสมัยรัชกาลที่ ๓ มีผู้ประดิษฐ์ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็ก เกิดปี่พาทย์เครื่องคู่ขึ้น ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ มีระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก เพิ่มขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ปี่พาทย์เสภาได้รับความนิยมมาก คหบดีมักมีวงปี่พาทย์ประจำบ้าน และมีครูผู้ทรงคุณวุฒิประจำวง ทำให้เกิดการแข่งขันทางเพลง ส่วนวงเครื่องสายและมโหรีพัฒนาวงเครื่องคู่และเครื่องใหญ่ แต่คนนิยมปี่พาทย์เสมามากกว่า