หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title สักวา
Object สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 14 Call number DS568 ม-ส 2542
Summary สักวา เป็นกลอนสำหรับร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน สักวาบทหนึ่งมี 4 คำกลอน แบ่งเป็นวรรคได้ 8 วรรค วรรคหนึ่งมีคำตั้งแต่ 6-9 คำ ให้ร้องเข้ากับทำนองเพลง มีข้อบังคับ คือ ขึ้นต้นต้องใช้คำว่า “สักวา” ลงท้ายด้วยคำว่า “เอย” การเล่นสักวานิยมเล่นในฤดูน้ำหลาก คือเดือน 11-12 อันเป็นเทศกาลทอดกฐิน ผ้าป่า บรรดาเจ้านายมักจะพาบริวารทั้งนักร้อง นักดนตรี พร้อมด้วยลูกคู่ มีโทน ทับ กรับ ฉิ่ง รำมะนา และวงมโหรี ไปเที่ยวตามลำน้ำ เมื่อพบปะกับเรือลำอื่นๆ เจ้าของคณะก็จะผูกกลอนขึ้นกันสดๆ ให้นักร้องของตนร้องเกี้ยวพาราสี หรือเชิญชวนเรือลำอื่นๆ มาเล่นกลอนสักวาโต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน การสักวามาซบเซาในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเล่นละครผู้หญิงได้ ไม่ห้ามดังแต่ก่อน บรรดาเจ้านายจึงนิยมไปเล่นปี่พาทย์และละครกันเป็นส่วนมาก

ที่มา:
บุษรา เรืองไทย. “สักวา,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. เล่ม 14, สมุทรโฆษคำฉันท์ - หม้อทะนน : ภาชนะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542. หน้า 6616-6618.