หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title สนธิสัญญาเบาริง
Object สนธิสัญญาเบาริง Call number
Summary การทำสัญญาเบาริงนี้ มีความสำคัญต่อประเทศไทยมาก เพราะเป็นการเปิดประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนประเทศใกล้เคียงที่ปิดประเทศ ไม่ยอมติดต่อกับต่างชาติ จนเกิดการใช้กำลังบังคับ พระองค์ทรงตระหนักว่า การสงครามได้พัฒนาขึ้น ไม่เหมือนแต่ก่อน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสงครามมีความสำคัญมากกว่าแม่ทัพ
การที่รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นการณ์ไกล ทรงสนพระทัยในความเป็นไปของโลกตะวันตก การที่ทรงสามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ และการที่ไทยรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การเจรจาทำสนธิสัญญาเบาริงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาริง
1. ไทยและอังกฤษจะเป็นมิตรไมตรีกัน
2. คนในบังคับอังกฤษมีเสรีภาพในการศาสนา
3. คนในบังคับต้องไปจดทะเบียนเป็นหลักฐานที่สถานกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ
4. กลสุลอังกฤษเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาคดีต่างๆ ที่คนในบังคับเป็นจำเลย
5. อังกฤษนำฝิ่น เงินแท่ง ทองแท่ง (สินค้าต้องห้าม) เข้ามาขายในประเทศไทยได้
6. ไทยต้องยกเลิกภาษีปากเรือและภาษีอื่นๆที่เคยเรียกเก็บ
7. รัฐบาลไทยสงวนสิทธิ์ที่จะห้ามนำข้าว เกลือและปลาออกนอกประเทศ หากขาดแคลน
8. ไทยจะให้การปฏิบัติต่ออังกฤษเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง
9. สัญญาจะบอกเลิกไม่ได้ หากจะแก้ไข/เปลี่ยนแปลงจะกระทำได้เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีแล้ว

สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสนธิสัญญาที่สร้างความเ้สียเปรียบแก่สยามอยู่หลายสิบปี และมาสิ้นสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยผู้ที่เข้ามามีบทบาทในการเข้าร่วมแก้ไขสนธิสัญญาพระราชไมตรีดังกล่าวคือ ดร.ฟรานซิส บีแซร์ (Dr.Francis Bowse Sayre) ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยากัลยาณไมตรี" และในปี พ.ศ.2468 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศสยามประจำศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก

ที่มา:
ไกรฤกษ์ นานา. "แปลกแต่จริง 'สยามกู้อิสรภาพตนเอง' ฉบับคนอเมริกันเขียนประวัติศาสตร์ไทย," ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 : มกราคม 255 : หน้า 116-136.
“ประวัติศาสตร์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7,” แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี. ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2534), หน้า 1-96.