หน้าหลัก | พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มจธ.
สืบค้นข้อมูล

Title แกะรอย ฬ่อออ
Object Call number
Summary คุณเอนก นาวิกมูล (2545 : 107) ได้กล่าวถึง คำว่า "ฬ่อออ" ว่า "...พบคำดังกล่าวในพระราชหัตถเลขา คำว่า ฬ่อออ แปลว่า ล่อให้ตื่น หรือ ของตื่นเล่น ฬ่อ ฬ. จุฬาเขียน ส่วนคำว่า ออ เป็นคำแสลงสมัยรัชกาลที่ 4 แปลว่า ตื่น หรือพิศวง ... ซึ่งมีคำอธิบายอยู่ในพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 4 ว่าด้วยถนนเจริญกรุง (เริ่มสร้าง พ.ศ.2404) ตอนหนึ่งว่า
"ถึงได้เตเลแกรบ (คือเทเลกราฟ) ซึ่งแปลว่า โทรเลข-เอนก) แลทางรถไฟเป็นของประหลาดนัก ฟังแลก็ออ ออ ออมาจนขี้เกียจออเสียแล้ว ออ นั้นแปลว่า ตื่น พิศวง..."
พระราชหัตถเลขาที่ทรงเขียนถึงเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นอุปทูตอัญเชิญพระราชสาส์นจาก รัชกาลที่ 4 ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งกรุง อังกฤษ พ.ศ.2400 พระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งทรงเขียนว่า
" อนึ่งเมื่อกลางคืนวันจะไปนั้น ข้าได้สั่งให้หลวงสรรพวุธเอาอย่าง (ตัวอย่าง - เอนก) หลอดแก้วครอบตะเกียงไปตามเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดีสองอย่าง ด้วยจะให้ทำเปนอาไหล่ไว้ใช้ หลวงสรรพวุธ เข้าใจผิดไปได้เอาไปให้แต่หลอดเดียว หลอดโคมเชิดหนัง (เมจิค แลนเทิร์น หรือ Magic lantern คือเครื่องฉายสไลด์ หากแต่ก่อนยังไม่มีไฟฟ้า ต้องมีตะเกียงหรือเรียกอีกอย่างว่า โคมเป็นเครื่อง ฉายแสง มีหลอดแก้วควบคุมตัวไฟไว้ - เอนก) ของเซอ ยอน โบวริง ให้แต่ก่อนนั้นหาได้อย่างไปไม่ ยังค้างอยู่ บัดนี้ทำอย่างให้มากับทั้งอย่างแก้วใส่ข้างหน้าที่แก้วเก่าแตกนั้นมาด้วย จงทำมาให้ เปนปรกติ และหาหลอดสำหรับอาไหล่มาให้ใช้หลายอัน อนึ่งได้ให้อย่างแผ่นกระจก เปนที่เขียนตัวหนังสือซึ่งเข้าช่องกันได้มาด้วยในครั้งนี้ จะหาช่างเขียนที่ฉลาดๆ เขียนเพิ่มเติมเข้า ด้วยก็ดี จะได้มากๆ ขึ้นไหนๆ ก็ได้มีเครื่องโคมอยู่แล้ว ตัวหนัง เก่าก็มีอยู่บ้างแล้ว แตกแตนไปเสียน้อยไป ถ้ามีขึ้นปลาดๆ มากๆ ก็จะดีอยู่ ถึงจะเปนของไม่มีประโยชน์นักเปนแต่เครื่อ งฬ่อออ ก็เป็นของเล่นง่าย จะได้ให้เด็กๆ เล่นฤาลาวกาวมาแต่หัวเมืองก็จะได้เอาออกเล่นให้ ดูฬ่อออลาว
ของอื่นๆ ที่จะซื้อหามานั้น ถ้าเปนแต่เครื่องฬ่อออ ไม่สู้ต้องการนัก เสียเงินเปล่า คิดหาแต่ของที่เปนประโยชน์ใช้การได้ เครื่องยางไม้หุงที่อังกฤษเรียกว่า ... และทรงกล่าวว่า ขุนทิพ มงคลที่ไปกับคณะทูตด้วยนั้นให้หัดเรียนแก้นาฬิกาด้วย " ทุนรอนคราวนี้ก็มีมาก จะได้หาเครื่องมือและเครื่องอาไหล่มาใช้ให้ครบครัน วิชานี้ก็สำคัญ นาฬิกาก็ต้องแก้เสมอไป เพราะว่าต้องใช้อยู่ เปนนิจมิใช่ฬ่อออ อนึ่งบอกมาให้ทราบว่าตั้งแต่ทูตไปแล้ว


(หมายเหตุ :- แผ่นกระจก และหนัง คือ แผ่นสไลด์ - เอนก)

พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 20 ถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ราชทูต) และเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (เพ็ง เพ็ญกุล) " ... ขอท่านจงเอาาใจใส่หาสูบอย่างใหม่และเครื่องมือดับไฟอย่างไรดีๆ ที่ควรพอกำลังไทยจะใช้ได้ รักษาได้นั้นมาให้ข้าพเจ้าเปนกำลังไว้ สำหรับดับเพลิง สำรับ 1 ฤา 2 สำรับ ข้าพเจ้าจะดีใจมากแต่อย่าตื่นเครื่องจักรฟืนจักรไฟไป กลัวจะเกินวาศนาไทยจะใช้ จะเปนแต่เครื่องฬ่อออไปเสียเงินเปล่าๆ คิดเอาแต่ที่ไทยจะใช้ได้...

ที่มา :
เอนก นาวิกมูล. "แกะรอย "ฬ่อออ"," เก็บตกกรุงสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2545. หน้า 131-141.
เอนก นาวิกมูล. "ยาหอลาเว"," เก็บตกกรุงสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2545. หน้า 107-118.