Search

ปี 2506 - 2510
ปี 2506
มีนาคม 2506

มีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ป.วส. รุ่นแรก 119 คน ได้แก่ ช่างก่อสร้าง 36 คน ช่างไฟฟ้า 41 คน ช่างยนต์ 31 คน และช่างโลหะ 11 คน
ปีการศึกษา 2506
กระทรวงศึกษาธิการอนุมัตให้ใช้ระเบียบวิทยาลัยฯ ฉบับใหม่ - แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริการ และฝ่ายธุรการ
- เปลี่ยนระเบียบการศึกษาเป็น ๒ ภาคเรียน เปลี่ยนเวลาเรียนเป็น 8.30-16.35 น.
- เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่
- เริ่มใช้ระบบหน่วยกิต คณะผู้เชี่ยวชาญ
- ฝ่ายวิชาการเสนอโครงการปรับปรุงคุณวุฒิของครู โดยการคัดเลือกอาจารย์บางท่านไปรับการอบรมฝึกฝนจากโรงงานอุตสาหกรรม และจัดอบรมวิชาพื้นฐาน เช่น ภาษาอังกฤษ (นอกจากจ้างฝรั่งมาสอนที่วิทยาลัยแล้ว ยังจัดเป็นทีมส่งไปเรียนกับ ม.ร.ว.นิ่มสาย อัมรนันท์ ณ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนอีก 2 สัปดาห์) คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
ทางด้านการบริหารวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้างานต่างๆ ดังนี้
1. ฝ่ายวิชาการ
หัวหน้าฝ่าย นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างกล นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ รักษาการ
(ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2507)
หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ รักษาการ
หัวหน้าคณะวิชาสามัญ นายอุทัย เผ่าภู่
หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์ นายประยูร สาชาติ
หัวหน้าแผนกวิชาช่างโลหะ นายสุจินต์ มาประจง
หัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง นายสมัคร จรูญพันธ์
หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง นางจันทนา วัฏฏะสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นางคลอใจ บุญยสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาภาษาและสังคมศึกษา นางจารุณีล์ ทรัพย์มณี
2. ฝ่ายบริการ
หัวหน้าฝ่าย นางสาวอุบล จันทกมล
หัวหน้าแผนกทะเบียน นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกแนะแนว หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ
หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกสวัสดิการ ร.ต. หญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ
หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์ นายประดวน พัฒนโชติ
หัวหน้าแผนกอุปกรณ์และวิจัย นางสาวเอมอร กกกำแหง
3. ฝ่ายธุรการ
หัวหน้าฝ่าย นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกสารบรรณ นางสาวจินตนา พรหมายน
หัวหน้าแผนกการเงิน นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่ นางสาวสมศรี กาญจนสุต
หัวหน้าแผนกบุคลากร หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ

ปี 2507
15 กรกฎาคม 2507
กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานตาม Plan of Operation ของกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ประกอบด้วย
1. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
2. อธิบดีกรมอาชีวศึกษา รองประธานกรรมการ
3. ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กรรมการ
4. หัวหน้าสำนักงาน UNTAB กรรมการ
5. หัวหน้าสำนักงาน UNESCO กรรมการ
6. ผู้แทนกรมวิเทศสหการ กรรมการ
7. หัวหน้าผู้เชี่ยวญาญ UNESCO ประจำวิทยาลัย กรรมการ
8. ผู้อำนวยการวิทยัยเทคนิค ธนบุรี กรรมการ
9. หัวหน้ากองวิทยาลัยเทคนิค กรรมการและเลขานุการ

- คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ จัดหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูงต่อจากหลักสูตรเดิมอีก 2 ปี เพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูช่างผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่วิทยาลัยเทคนิคทุกแห่ง นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการขอความช่วยเหลือไปยัง UNDP เพื่อสนับสนุนกิจการของโครงการฝึกหัดครูอีกด้วย วิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ตามลำดับพร้อมทั้งแต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล และ ดร.หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าแผนกช่างโลหะ ปีการศึกษานี้ได้อาคารวิทยาศาสตร์ (อาคารเรียน 2) โรงฝึกงาน ช่างหล่อ โรงฝึกงานช่างไฟฟ้า และต่อเติมโรงฝึกงานช่างก่อสร้าง

- อาจารย์ชุดแรกที่ไปต่างประเทศเดินทางกลับ อาจารย์ชุดที่สองจึงทยอยไปศึกษาต่อบ้าง ท่านเหล่านั้น ได้แก่
1. นายสุจินต์ มาประจง ไปนิวซีแลนด์
2. ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายเจตน์ ไชยาคำ ไปสาธารณรัฐจีน
4. นายสิษบ์ษราวุฑฒิ์ พูนทวี ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายประยูร สาชาติ ไปนิวซีแลนด์
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู ไปอังกฤษ

ปี 2508
ปีการศึกษา 2508
- วิทยาลัยฯ แต่งตั้งนายวุฑฒิ พันธุมนาวิน เป็นหัวหน้าคณะวิชาสามัญ
- กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และให้ตั้งคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เริ่มจากสาขาช่างยนต์ และช่างโลหะ ปีการศึกษา 2509 จึงเริ่มหลักสูตร ปทส. สาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า
พฤศจิกายน 2508
- หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา วิทยาลัยฯ แต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ของบประมาณสร้างหอพัก สำหรับนักศึกษาโครงการฝึกหัดครูฯ และได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2510 จำนวน 2,000,000 บาท

ปี 2509
- ปีการศึกษา 2509 เปิดสอนสาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จ ป.วส. จากวิทยาลัยเทคนิคแห่งอื่นๆ มาสมัครสอบแข่งขันด้วย ปีนี้วิทยาลัยฯ ได้โรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น และตึกอำนวยการ
15 เมษายน 2509
- คณะกรรมการประสานงาน ซึ่งมีท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นประธาน มีมติให้วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ดำเนินการร่างโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี จากข้อเสนอของคณะผู้บริหารวิทยาลัยฯ และคณะผู้เชี่ยวชาญ UNESCO วิทยาลัยฯ จึงแต่งตั้งกรรมการร่างโครงการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
ดร. หริส สูตะบุตร ประธาน
Dr. N.S. Rajan รองประธาน
นายสุนทร ศรีนิลทา กรรมการ
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤก์ กรรมการ
ดร. นาท ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการ
นายเจิรญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
นางสาวอุบล จันทกมล กรรมการ
Dr. Tha Hla กรรมการ
Mr. H. Hansen กรรมการ
Mr. I. Davies กรรมการ
Mr. L. Dellenborg กรรมการ
Mr. B.G. Dahlborg กรรมการ
Mr. R.D. Drury กรรมการ
นายวุฑฒิ พันธุมนาวิน กรรมการและเลขานุการ

1 กันยายน 2509
- UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือวิทยาลัยฯ เป็นโครงการที่สอง (ชื่อโครงการ Technical Technical Training Project SF. THA. 22) ตั้งแต่ 1 กันยายน 2509 ลักษณะความช่วยเหลือไม่แตกต่างกับโครงการแรก มีกำหนดเวลา 4 ปี ยอดเงินช่วยเหลือ 935,100 เหรียญอเมริกัน เน้นหนักในการผลิตครูเทคนิคชั้นสูงที่มีคุณภาพ เพื่อบรรจุเข้ารับราชการครู ในสถานอาชีวศึกษาทั่วพระราชอาณาจักร คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ชุดใหม่ของ THA 22 ประกอบด้วย
1. Dr. Tha Hla หัวหน้าคณะ
2. Mr. G.J. de Morree ผู้เชี่ยวชาญสาขาเครื่องกล
3. Mr. R.P. Anthony ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต
4. Mr. H.N. Bange ผู้เชี่ยวชาญสาขาก่อสร้าง
5. Mr. B.G. Dahlborg ผู้เชี่ยวชาญสาขาไฟฟ้ากำลัง
6. Dr. M.P. Varshney ผู้เชี่ยวชาญสาขาอีเลคทรอนิกส์
7. Prof. L.J. Wierzbicki ผู้เชี่ยวชาญสาขา Drawing and design
8. Mr. William Dickinson ผู้เชี่ยวชาญสาขาครุศาสตร์
9. Mr. I. Davies ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต

ปี 2510
14 กุมภาพันธ์ 2510
- กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้แผนกวิชาช่างโลหะเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกวิชาเทคนิคการผลิตได้ ตามที่วิทยาลัยฯ เสนอ
12 มิถุนายน 2510
วิทยาลัยเสนอโครงการ “สถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี" (Thonburi Institute of Technology)" ขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ต่อจาก ม.ศ.5 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้หลักการเมื่อ 3 ตุลาคม 2510
ปีการศึกษา 2510
คณะวิชาช่างก่อสร้าง จัดหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับ “เทคนิคการสร้างถนน” ให้แก่ข้าราชการจากประเทศลาว จำนวน 8 คน ในความอุปถัมภ์ขององค์การ USOM (United States Operation Mission, Bangkok) กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 ตุลาคม 2510
-โครงการ THA 7 ใกล้จะสิ้นสุด สำรวจแล้ว มีเงินเหลือจำนวนหนึ่ง พอที่จะจัดเป็นทุนการศึกษาต่อต่างประเทศระยะสั้นเพียง 1 ปีได้ ผู้อำนวยการฯ เสนอแนะคณะผู้เชี่ยวชาญให้เป็นทุนสาขา Library Science เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการจัดบริการวิชาการ สำหรับโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ในอนาคต หัวหน้าแผนกอุปกรณ์ และวิจัย ได้รับทุนนี้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ Wayne State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 19 มิถุนายน 2510 ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 22 ได้แก่
1. น.ส. อุบล จันทกมล ไปสหรัฐอเมริกา
2. นายอุทัย เผ่าภู่ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายจรัล ธนัญชัย ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายไมตรี ปชาเดชสุวัฒน์ ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายเกษม เลิศรัตน์ ไปสหรัฐอเมริกา
7. นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ ไปออสเตรเลีย