Search



ปี 2511 - 2515
ปี 2511
13 กรกฎาคม 2511
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการสถาบันเทคโนโลยีธนบุรี แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี รับเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี และเสนอร่างพระราชบัญญัติ
16 กรกฎาคม 2511
- กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในวงการอุตสาหกรรม และหน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนากำลังคนดังต่อไปนี้
1. นายเทียน อัชกุล อธิบดีกรมแรงงาน
2. ร.ท. ชุบ ศิริเจริญ ร.น. นายช่างวิศวกร บริษัทกรุงเทพฯ อบพืชผลและ ไซโล จำกัด
3. นายสำราญ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายงานบุคคล บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
4. นายขจร สุขพานิช ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค บริษัทฟีลโก้-ฟอร์ด คอเปอเรชั่น
5. นายปฏิพันธ์ อารยะศาสตร์ รองผู้ว่าการฝ่ายธุรการ การไฟฟ้ายันฮี
6. ดร. วีระชัย สุวรรณาคาร ผู้อำนวยการและผู้จัดการบริษัทวีระชัย และสหาย
7. นายสุนทร ศรีนิลทา หัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา
8. ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากกรรมการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว วิทยาลัยฯ ยังมีคณะกรรมการบริหารอีกชุดหนึ่ง ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการ ประธานกรรมการ
รองผู้อำนวยการ รองประธานกรรมการ
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายบริการ กรรมการ
ดร. หริส สูตะบุตร กรรมการ
นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
นางเอมอร ศรีนิลทา กรรมการ
นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายธุรการ กรรมการและเลขานุการ
23 กรกฎาคม 2511
- คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี ในที่ประชุม และเห็นชอบให้จัดตั้งได้ แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” กับให้รวมวิทยาลัย เทคนิคไทย-เยอรมัน พระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคม ไว้ในสังกัดด้วย ท่านอธิบดีพงศ์ศักดิ์ จึงเรียกประชุมผู้อำนวยการเทคนิค ธนบุรี รับเป็นผู้ดำเนินการเอง และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อกรมอาชีวศึกษาในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2511
หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี ในระดับกระทรวง 2 ครั้ง ท่านอธิบดีกรมอาชีวศึกษา ได้เรียกประชุมผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการของทั้ง 3 วิทยาลัย เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ อีก 2 ครั้ง แล้วจึงเสนอเข้าที่ประชุมฯ ระดับกระทรวง เป็นครั้งที่ 3 ที่ประชุมลงมติผ่านร่างนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 และเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระดับกระทรวง แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
- ต้นปีการศึกษา 2512 นักศึกษาตั้งข้อกล่าวหาหัวหน้าฝ่ายธุรการ ไม่ยอมฟังคำชี้แจง และข้อเท็จจริงต่างๆ กรมฯ มีคำสั่งด่วนย้ายหัวหน้าฝ่ายธุรการเข้ากรมฯ โดยไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวน เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว นายประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยจึงขอลาออกจากราชการ และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2512
หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ในขณะที่เปลี่ยนผู้อำนวยการใหม่ ประกอบด้วย
1. ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการชั้นพิเศษ
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รองผู้อำนวยการ
3. ดร. หริส สูตะบุตร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าคณะวิชาช่างกล
4. นายอุทัย แก้วช่วง หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์
5. นายสุจินต์ มาประจง หัวหน้าแผนกวิชาเทคนิคการผลิต
6. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า และรักษาการหัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
7. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ รักษาการ หัวหน้าแผนกอีเลคทรอนิคส์
8. นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา
9. นายอุทัย เผ่าภู่ หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
10. นายสมหมาย สีมากุล หัวหน้าคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง
11. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รักษาการ หัวหน้าคณะวิชาสามัญ
12 นางคลอใจ บุณยสิงห์ หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
13. นางนันทา โกวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาภาษา และสังคมศึกษา
14. นายเสรี สุขเกษม หัวหน้าฝ่ายธุรการ
15. นายประจวบ ทรัพย์สงวน หัวหน้าแผนกการเงิน
16. นายพนม ภัยหน่าย หัวหน้าแผนกสารบรรณ
17. นายธวัชชัย นาคพุ่ม หัวนห้าแผนกบุคลากร
18. นางสาวเฉลิมวรรษ์ ชูทัย หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่
19. นางสาวพเยาว์ จันทร์เฉลิม หัวหน้าแผนกบัญชี
20. นายสุรเทพ อภัยจิตร หัวหน้าแผนกวัสดุอุปกรณ์
21. นางอุบล จันทกมล หัวหน้าฝ่ายบริการ และรักษาการหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์
22. นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
23. เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
24. นายวุฒิ อินทร์แก้ว หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์
25. นางเอมอร ศรีนิลทา หัวหน้าแผนกห้องสมุด และรักษาการหัวหน้าแผนกโสตทัศนศึกษา
26. นางนลินี ไกรคุณาศัย หัวหน้าแผนกวิจัยการศึกษา
27. นายพยูร เกตุกราย หัวหน้าแผนกหอพัก
- คณะกรรมการบริหารก็เปลี่ยนตัวไปตามตำแหน่งใหม่ มีกรรมการเพิ่มเติม คือ
1. นายอุทัย เผ่าภู่
2. นายสมหมาย สีมากุล
3. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร
4. นายสันติ พัสดร
5. ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์

ปี 2512
มิถุนายน 2512
แผนกอุปกรณ์และวิจัย ย้ายออกจากอาคารไม้ ไปให้บริการในอาคารเอกเทศ 2 ชั้น และนางเอมอร ศรีนิลทา เป็นหัวหน้าแผนก
10 กันยายน 2512
ผู้อำนวยการวิทยาลัยได้รับอนุมัติให้ลาออกจากราชการ โดยมีอาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข เป็นรองผู้อำนวยการต่อไปตามเดิม และให้ ดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง

ปี 2513
13 มกราคม 2513
คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอไป ให้คงชื่อ “สถาบันเทคโนโลยี” ไว้ตามเดิม แต่ให้แก้ร่างพระราชบัญญัติเดิมให้ชัดว่า การศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา ในวิทยาลัยทั้งสาม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะต้องให้คงดำเนินการอยู่ต่อไป และสำหรับผู้ที่จะศึกษาเป็นครูปริญญาทางนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาข้างต้น คือระดับวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งมีผลการศึกษาดีเด่น และมีคุณสมบัติเหมาะสม
28 พฤษภาคม 2513
สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม “พระจอมเกล้า”เป็นชื่อของสถาบัน นามภาษาอังกฤษ “King Mongkut’s Institute of Technology”
7 กันยายน 2513
- คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเสร็จเรียบร้อย เสนอเข้า ค.ร.ม. คณะรัฐมนตรีรับหลักการในวันรุ่งขึ้น แล้วส่งเรื่องให้พรรคสหประชาไทย เพื่อให้คณะกรรมการการศึกษาของพรรคพิจารณา
- คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ซึ่งได้พิจารณา และลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในการประชุมครั้งที่ 10/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ระลึกแห่งการสถาปนาวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี พอดี ต่อจากนั้นจึงส่งร่างพระราชบัญญัติฯ ให้คณะกรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อสภาผู้แทนฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ที่ประชุมลงมติให้ใช้ได้ และให้เสนอต่อวุฒิสภา เพื่อพิจารณาต่อไป วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในที่สุดโครงการสถาบันเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 5 ปี ก็สัมฤทธิผล พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฉบับที่ 1 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 วันที่ 23 เมษายน 2514 สถาบันฯ มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หลักการสำคัญคือ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา และให้การศึกษาทางเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้บรรดาผู้ได้รับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ป.ท.ส.) ของวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ฯลฯ ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ มีศักดิ์ และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาบัตรตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องชื่นชมกันเป็นพิเศษ เพราะมีความหมายอย่างมากในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
- มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี ฉบับที่ 1 ระบุว่า “ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี ให้สภาสถาบันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกสภาสถาบัน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกสภาสถาบัน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นกรรมการสภาสถาบันโดยตำแหน่ง และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินเก้าคน และให้อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นเลขานุการสภาสถาบันอีกตำแหน่งหนึ่ง” สภาสถาบันชุดแรก จึงประกอบด้วย
1. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ นายกสภาสถาบัน
2. นายบุญถิ่น อัตถากร รองนายกสภาสถาบัน
3. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พลโทบุญเรือน บัวจรูญ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายจ่าง รัตนะรัต กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นายดำรง ชลวิจารณ์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
8. พระประกอบยันตรกิจ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
9. นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
-ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดแบ่งหมวดวิชา ในภาควิชาต่างๆ ดังนี้
1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Department)
- หมวดวิชาโครงสร้าง (Structural Technology Division)
- หมวดวิชาการทาง (Highway Technology Division)
- หมวดวิชาช่างสุขาภิบาล (Sanitary Technology Division)
- หมวดวิชาช่างก่อสร้าง (Construction Technology Division)
- หมวดวิชาการขนส่ง (Transportation Technology Division)
- หมวดวิชาธรณีวิทยา (Geology Division)
2. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม (Production Engineering Department)
- หมวดวิชาช่างกลโรงงาน (Machine Tool Technology Division)
- หมวดวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น (Welding & Sheet Metal Tech. Division)
- หมวดวิชาช่างหล่อ (Foundry Technology Division)
- หมวดวิชาช่างทั่วไป (Basic Workshop Technology Division)
- หมวดวิชาการบริหารอุตสาหกรรม (Industrial Management Division)
- หมวดวิชาวัสดุวิทยา (Materials Technology Division)
- หมวดวิชาออกแบบเครื่องมือการผลิต (Tool Design Division)
3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering Department)
- หมวดวิชาความร้อนประยุกต์ (Thermal Engineering Department)
- หมวดวิชากลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics Division)
- หมวดวิชากลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics Division)
- หมวดวิชาออกแบบและควบคุมอัตโนมัติ (Design & Automatic Control Division)
- หมวดวิชาช่างยนต์ (Automotive Technology Division)
- หมวดวิชาเครื่องกล (Mechanical Technology Division)
4. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering Department)
- หมวดวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้าและระบบไฟฟ้ากำลัง (Electrical Machine & Power Systems Division)
- หมวดวิชาทฤษฎีวงจรไฟฟ้า (Circuit Theory Division)
- หมวดวิชาควบคุมอัตโนมัติ (Control & Automation Division)
- หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์ (Electronics Division)
- หมวดวิชาโทรคมนาคม (Communication Division)
- หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์อุตสาหกรรม (Industrial Electronics Division)
- หมวดวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (Electrical Technology Division)
- หมวดวิชาช่างอีเลคทรอนิคส์ (Electronic Technology Division)
5. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics & Science Department)
- หมวดวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics Division)
- หมวดวิชาวิธีกาคำนวณ (Computing Technique Division)
- หมวดวิชาฟิสิคส์ (Physics Division)
- หมวดวิชาเคมี (Chemistry Division)
6.ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์ (Language & Social Sciences Department)
- หมวดวิชาภาษาอังกฤษ (English Division)
- หมวดวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences Division)
7. ภาควิชาครุศาสตร์ (Education Department)
- หมวดวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Education Division)
- หมวดวิชาโสตทัศนศึกษา (Instructional Technology Division)
- หมวดวิชาจิตวิทยาและแนะแนว (Psychology & Guidance Division)
- หมวดวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา (Evaluation & Educational Research Division)
21 กันยายน 2513
เช่าเครื่องถ่ายเอกสารครั้งแรก
ตุลาคม 2513
โทรศัพท์สาธารณะประจำวิทยาลัย เครื่องแรกได้รับการติดตั้ง ตามการร้องขอจากนายสุธี ภัทราคร ประธานสภานักศึกษา


ปี 2514
4 กุมภาพันธ์ 2514
สภาผู้แทนราษฎร ลงมติรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 หลักสำคัญคือ ผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา
2 สิงหาคม 2514
ประชุมสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ครั้งแรก
กันยายน 2514
ตู้ไปรษณีย์ตู้แรกประจำวิทยาลัย ได้รับการติดตั้ง
5 พฤศจิกายน 2514
สภาสถาบันมีมติ ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ของกรมอาชีวศึกษา เข้าสมทบ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และให้จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2516 เป็นต้นไป คณะกรรมการดำเนินการสถาบันฯ จึงให้เลิกรับนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515
17 พฤศจิกายน 2514
คณะปฏิวัติ (มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ ยึดอำนาจตนเองซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐนตรี) ยึดอำนาจปกครองประเทศ มีคำสั่งให้ปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบงานในกระทรวง นายบุญถิ่น อัตถากร ปลัดกระทรวง ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สอง และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ เป็นอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2514
22 ธันวาคม 2514
- มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ เป็นอธิการบดี
- สถาบันฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ “พระมหามงกุฏ” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตามแบบตัวอย่างตราเครื่องหมายที่โปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบใหม่โดยใช้ตราเครื่องหมายรัชกาลที่ ๔ เป็นหลัก และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2514


ปี 2515
29 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2515
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 (นายเกษม โสตถิวัฒน์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา) ในบริเวณสถาบันฯ เพื่อแสดงผลงานทางเทคโนโลยี ของนักศึกษาทุกแผนก และเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่ประชาชน มูลนิธิเอเซีย สนับสนุนด้านกำลังเงิน จำนวน 15,000 บาท สถานฑูตต่างๆ ส่งโปสเตอร์มาแสดง ร้านค้ามาร่วมแสดงสินค้าในงานกว่า 10 ร้าน นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ มาแข่งตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างคับคั่ง ประชาชนสนใจเข้าชมงานประมาณ 19,000 คน พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ ได้มาชมนิทรรศการนี้เป็นการส่วนตัว และได้นำไปกล่าวชมเชยในที่ประชุมสภาสถาบัน ต่อหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิการบดี
1 มีนาคม 2515
UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เป็นโครงการที่สาม คือ โครงการ Technical Teacher Training Programme, King Mongkut's Institute of Technology Thonburi (Phase II) SF. THA. 72/005 ลักษณะความช่วยเหลือเช่นเดียวกับโครงการก่อน มีกำหนดเวลา 3 1/2 ปี คิดเป็นมูลค่า 735,790 เหรียญอเมริกัน คณะผู้เชี่ยวชาญชุดนี้ประกอบด้วย
1. Mr. H.N.C. Stam Chief Technical Adviser (ชาวเนเธอร์แลนด์)
2. Mr. I. Davies Production Engineering Expert
3. Mr. D.P. Morrion Electrical Engineering Expert
4. Mr. A. Stromberg Civil Engineering Expert
5. Mr. D.E. Alexander Mechanical Engineering Expert
6. Mr. John McGreal Expert in Principles and Methods of Education
7. Mr. D. Blumel Associate Expert in Production of Technical Learning Materials
8. Mr. P. Alexandre Electrical Engineering Expert
9. Mr. H. Bange Civil Engineering Expert
10. Mr. C.E. Strand Associate Expert in Mechanical Engineering Teaching

- ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 72 ได้แก่
1. นายบันเทิง สุวรรณตระกูล ไปอังกฤษ
2. นายชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายขจรศักดิ์ คันธพนิต ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายสัมพันธ์ หาญชเล ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายพิสิษฐ์ อาวัชนากร ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ ไปสหรัฐอเมริกา
14 มีนาคม 2515
สภาสถาบันฯ ประกาศใช้ระเบียบฯ ว่าด้วยการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา และค่าธรรมเนียมการศึกษา พ.ศ. 2515 (แก้ไขเพิ่มเติม 17 กรกฎาคม 2515)
ปีการศึกษา 2515
ภาควิชาภาษาและสังคม เปลี่ยนหลักสูตรและการสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นแบบ Intensive
5 มิถุนายน 2515
สภาสถาบันฯ กำหนดมาตรฐานการวัดผลการศึกษาใหม่ ให้คณะกรรมการประจำคณะพิจารณาผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาของแต่ละคณะ และในกรณีที่มีปัญหาให้อธิการบดี เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
6 มิถุนายน 2515
สำนักงาน ก.พ. รับรองปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาโยธา สาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเครื่องกล และสาขาอุตสาหการ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ว่าเป็นปริญญา ซึ่งอาจบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการได้ไม่สูงกว่าชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,250 บาท ตามข้อ 6 (2) แห่งกฎ ก.พ. ฉบับที่ 622 (พ.ศ.2513)
9 มิถุนายน 2515
สภาฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อนุมัติให้จ้างแพทย์ (นายแพทย์กุดั่น ปัทมสูต) เพื่อบริการสุขภาพแก่นักศึกษาเป็นครั้งแรก
18 ตุลาคม 2515
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทูนเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
19 ธันวาคม 2515
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สาม