Search



ปี 2516 - 2520
ปี 2516
3 กรกฎาคม 2516
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
14 ตุลาคม 2516
เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกวาระหนึ่ง พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเดิมสถาบันฯ กำหนดจะจัดในวันที่ 25 ตุลาคม 2516 จำเป็นต้องงดโดยปริยาย
- เนื่องจากพระราชบัญญัติ แบ่งส่วนราชการภายในสถาบัน ยังไม่เรียบร้อย บุคคลในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ซึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดมา กับกรรมการฝ่ายวิชาการ เกือบจะเป็นชุดเดียวกันอยู่แล้ว ท่านรองอธิการบดี จึงมอบหมายให้กรรมการฝ่ายวิชาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพียงชุดเดียว ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2516 กรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย
1. ดร.หริส สูตะบุตร ประธาน
2. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
3. ดร.วรศักดิ์ วรภมร กรรมการ
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กรรมการ
5. นายสมหมาย สีมากุล กรรมการ
6. นางคลอใจ บุญยสิงห์ กรรมการ
7. นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
8. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล กรรมการ
9. นายอุทัย เผ่าภู่ กรรมการ
10. ดร.นระ คมนามูล กรรมการ
โดยที่รัฐบาลมีนโยบาย ที่จะให้สถาบันการศึกษาที่มีกฎหมาย ให้อำนาจประสาทปริญญา ในสาขาที่เปิดสอน ไปสังกัดอยู่ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ คณะรัฐมนตรี จึงประกาศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปเป็นส่วนราชการ ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 ด้วย
ธันวาคม 2516
นักศึกษา “วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้” จังหวัดเชียงใหม่ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามลำดับ) ขอเข้ามารวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ที่ประชุมวิชาการเสนอแนะ ให้ดำเนินเรื่องเสนอทบวงฯ จัดตั้งเป็นสถาบันใหม่

ปี 2517
11 มกราคม 2517
นักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มหนึ่งเดินขบวนเรียกร้องให้พวกตน ได้มีโอกาสเรียนต่อถึงขั้นปริญญา ขอให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า กลับมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม และให้สถาบันฯ รับนักเรียนที่จบ มศ.6 เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2517 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอไว้ สภานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ยื่นหนังสือคัดค้านในวันรุ่งขึ้น คณะอาจารย์ของสถาบันประชุมกันแล้ว ลงมติตั้งกรรมการชุดหนึ่ง จำนวน 17 คน เป็นผู้แทนดำเนินการร่างคำร้องเรียนเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการเสนอ
ฯพณฯ ว่าการตัดสินเรื่องนี้ น่าจะมอบให้เป็นหน้าที่ของสภาสถาบัน ตามที่ พ.ร.บ. สถาบันฯ พ.ศ. 2514 กำหนดไว้ พร้อมทั้งได้ชี้แจงข้อขัดข้องต่างๆ ประกอบไปด้วย

- ปีการศึกษา 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เปิดสอนวิชาชั้นปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยรับนักศึกษารุ่นแรกเพียง 31 คน
28 มิถุนายน 2517
- ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษ ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดและเป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สี่ ก่อนหน้านั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2516
24 กรกฎาคม 2517
สภาสถาบันอนุมัติให้ เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ ในปีการศึกษา 2518 ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ธนบุรี เสนอ
21 สิงหาคม 2517
สถาบัน ประกาศระเบียบสถาบันเทคโนโลยี ว่าด้วยการวัดผลการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2517
20 กันยายน 2517
เส้นทางคมนาคมมายังสถาบันฯ ลาดยางตลอดแล้ว รถเมล์ประจำทางยังคงมีแค่ 2 สาย คือ 84 และ 88 ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้จำเป็นต้องโดยสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าสมัยก่อนหลายเท่า สถาบันฯ ธนบุรี จึงร้องขอกรมการขนส่งทางบก ให้รถเมล์สาย 75 (หัวลำโพง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) และ 87 (สนามม้านางเลิ้ง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) ซึ่งมาสุดทางที่หน้าวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ได้เลยเข้ามาถึงสถาบันฯ ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งประชุม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2517 อนุมัติให้รถเมล์สาย 87 วิ่งผ่านหน้าสถาบันฯ ไปสิ้นสุดปลายทาง ที่สวนธนบุรีรมย์
19 ตุลาคม 2517
สถาบันประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นครั้งที่ 2 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ดร.จ่าง รัตนะรัต และศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
20 ตุลาคม 2517
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า นำกฐินพระราชทาน ถวาย ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท

- นักศึกษาวิศวกรรมโยธา สาขาโครงสร้าง ของวิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โอนมาเรียนชั้นปีที่ 4 ที่วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2517 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้จัดชั้น เรียนเพิ่มให้ต่างหาก
5 พฤศจิกายน 2517
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพิ่มจะประกาศใช้ ให้แบ่งส่วนราชการออกเป็น คณะ ภาค กอง และแผนก (ได้แก่ กองกลางของสำนักงานอธิการบดี และกองธุรการของแต่ละวิทยาเขต ยังไม่มีกองบริการการศึกษา ประจำวิทยาเขต)
18 ธันวาคม 2517
ดร.หริส สูตะบุตร แต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ
19 ธันวาคม 2517
ดร.วุฑฒิ พันธุมนาวิน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

ปี 2518
20 มกราคม 2518
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเรือตรีชลี สินธุโสภณ เป็นนายกสภาสถาบัน ท่านที่ 5
26 มกราคม 2518
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันออกเป็นคณะ ภาควิชา และกองธุรการ ดร. หริส สูตะบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ
มีนาคม 2518
ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เสนอโครงการสำนักศึกษาและวิจัยพลังงานและวัสดุ เพื่อให้การศึกษาระดับปริญญาโท ทางวิศวกรรมศาสตร์ ในสาขาที่เป็น Multidisciplinary ได้แก่ สาขาพลังงาน, สาขาเทคโนโลยีวัสดุ, และสาขาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเพื่อทำการวิจัยพลังงานและวัสดุ โดยเน้นในด้านที่จะสามารถนำมาประยุกต์กับความต้องการของประเทศได้ ทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาแล้ว เห็นว่าพระราชบัญญัติสถาบันฯ พ.ศ.2514 ไม่ได้ให้อำนาจตั้งสำนักไว้ ถ้าตั้งสำนักขึ้นมา ก็จะทำได้แต่งานวิจัย จัดสอนนักศึกษาไม่ได้ ถ้าจะเปิดสอนต้องตั้งเป็นคณะ คณะกรรมการวางแผนและพัฒนาสถาบัน จึงขอให้ตั้งเป็น คณะพลังงานและวัสดุ และดำเนินการตามจุดประสงค์เดิม
ปีการศึกษา 2518
เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลรุ่นแรก จำนวน 15 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มงานวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และจัดโปรแกรมฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว โดยงบอุดหนุนของ UNDP
2 เมษายน 2518
โครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ THA 72/005 ใกล้จะสิ้นสุด มีเงินเหลืออยู่บ้าง หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญฯ จึงจัดโปรแกรมการดูงานและฝึกอบรมระยะสั้นในยุโรปให้แก่ผู้ประสานงาน และอาจารย์ของคณะฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ฝึกอบรมระยะสั้น และดูงานประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 2 เมษายน – 1 มิถุนายน 2518 ประกอบด้วย
1. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล
2. นายผจญ ขันธชวนะ
3. น.ส.เพราพรรณ ประพิตรภา
4. น.ส.จริยา ปัญราช
5. นายประยูร กิจพานิชวิเศษ
6. นายสุทัศน์ พรอานุภาพกุล
7. นายพลรัตน์ ลักษณียนาวิน

กลุ่มที่ 2 ดูงานการศึกษาด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ถึงระดับมหาวิทยาลัยในผรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ รวม 30 แห่ง ระหว่างวันที่ 7 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2518 ประกอบด้วย
1. ดร. หริส สูตะบุตร
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข
3. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
5. ดร.นระ คมนามูล
6. นางคลอใจ บุณยสิงห์
7. นางนันทา โกวงศ์
3 กรกฎาคม 2518
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดี อย่างเป็นทางการ
18 ตุลาคม 2518
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 3 ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ และนายคาร์ล สตีทสเล่อร์ ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 164 คน
11 ธันวาคม 2518
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ณ สถาบันฯ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-17 ธันวาคม 2518 นายสุข ชัยศิริถาวรกุล เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน ดร.หริส สูตะบุตร เป็นประธานกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับความร่วมมือจากสถานฑูต บริษัท ห้าง ร้าน ศิษย์เก่า นักเรียน และประชาชน เช่นเดียวกับครั้งที่หนึ่ง นอกจากแสดงผลงานของภาควิชาต่างๆ แล้ว ยังแสดงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์, โครงงานกำจัดสิ่งโสโครก, โครงการพลังงาน และโครงงาน “อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง” ด้วย

ปี 2519
ปีการศึกษา 2519
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ได้ขยายส่วนราชการเดิมที่เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี และภาควิชาฟิสิกส์ และได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ 26 คน สาขาคณิตศาสตร์ 25 คน ส่วนสาขาเคมี จะเริ่มในปีการศึกษาต่อไป หลักสูตรนี้ใช้เวลาศึกษา 4 ปี เน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
คณะฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 15 ล้านบาท ในการสร้างอาคาร ซึ่งใช้เป็นสำนักงาน, ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการภาคฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ และอีก 24 ล้านบาท สำหรับสร้างอาคารเรียน และปฏิบัติการภาคเคมีแทนที่อาคารเรียนไม้ ซึ่งมีอายุ 22 ปีแล้ว คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในปี 2524
6 ตุลาคม 2519
เกิดการจลาจลที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาของสถาบันฯ ถูกจับไปหลายคน สถาบันฯ ได้ตั้งศูนย์กลางการติดต่อและประมวลข่าวเกี่ยวกับนักศึกษาของสถาบันฯ ให้ทันกับเหตุการณ์ ให้เจ้าหน้าที่ไปติดต่อหน่วยควบคุมที่บางเขน และหน่วยควบคุมที่นครปฐม ให้แผนกทะเบียนส่งจดหมายติดต่อผู้ปกครองนักศึกษา ที่ถูกควบคุมตัว เพื่อการขอประกันตัว ส่วนผู้ที่ผู้ปกครองไม่สามารถไปขอประกันได้ทัน รองอธิการบดี คณบดี และรองคณบดี ได้ไปประกันตัวให้
18 ตุลาคม 2519
เลื่อนกำหนดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 18 ตุลาคม 2519 ไม่สามารถจัดได้ แต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2520

ปี 2520
24 มีนาคม 2520
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เวลา 16.00 น. นาวาอากาศเอกวิมล วิริยะวิทย์, นายดำรง ชลวิจารณ์, และนายชิเงโยชิ มัทซิมาเอะ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 293 คน
ปีการศึกษา 2520
- สถาบันฯ เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีพลังงาน 14 คน และสาขาวิศวกรรมโยธา 15 คน เริ่มจัดโควต้ารับนักศึกษาหลักสูตร วศ.บ. และ วท.บ. จากส่วนภูมิภาค โดยอิงมหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้นๆ คัดเลือกให้ ภาควิชาภาษาและสังคมเสนอโครงการภาษาอังกฤษเทคนิค (The Project of English for Science and Technology) และขอความช่วยเหลือจากโครงการโคลัมโบ สหราชอาณาจักรได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน British Council ส่ง Mr. Andrew Dunlop มาช่วยวางหลักสูตรเตรียมเนื้อหาวิชา แนะนำและอบรมวิธีสอน ให้อาจารย์ในภาค ตั้งแต่กันยายน 2519
- ปีนี้สถาบันฯ เริ่มออก "วารสารวิจัยและพัฒนา สจ.ธ." (KMITT Research and Development Bulletin) ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็นบรรณาธิการท่านแรก
- อาสาสมัครคานาดา
1) Mr.Frank Summerville ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
2) นายสงวน ปานมุข ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
3) Mr.Kenneth Cooper ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4) Mr.David Ford ภาควิชาเคมี
5) Mr.Ralph Pynn ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- อาสาสมัครอังกฤษ
1) Mr.Peter Friend ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
2) Mr.James Stockwell ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- อาสาสมัครอเมริกัน
1) Mr.Lucy Locorcaro ภาควิชาภาษาและสังคม
2) Dr.Conrad Weiffenbach ภาควิชาฟิสิคส์
3) Mr.Joe Cummings ภาควิชาภาษาและสังคม
4) Mr.N.C. Gordon ภาควิชาภาษาและสังคม
5) Mr.George Thompson ภาควิชาวิศกวรรมเคมี
- อาสาสมัครเยอรมัน
1) Mr.Rudolf Konzelmann ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ