Search




ปี 2541 - 2545
ปี 2541
-
สภาผู้แทนราษฎรรับทราบมติการให้ความเห็นชอบร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะรัฐมนตรีรับทราบมติของรัฐสภาที่เห็นชอบร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
6 มีนาคม 2541
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ปรับระบบเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11ก
เมษายน 2541
มจธ. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1 ในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Juior Science Talent Project : JSTP)
18 สิงหาคม 2541
สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
1 ธันวาคม 2541
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาเชื่อมต่อระบบ internet ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับบริษัท internet และระบบ UniNet ของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งจะส่งผลให้ช่องสัญญาณเชื่อมต่อเครือข่ายของ มจธ. เปลี่ยนความเร็วจากเดิม 128 Kbps ไปเป็นความเร็ว 512 Kbps

- จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (The Join Graduate School of Energy and Environment : JGSEE) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันศึกษา 5 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มช.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเป็นแกนนำและที่ตั้งของสถาบัน
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามาตรวิทยาทางอุตสาหกรรม และสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย
- คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรปรัชญามหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการพลังงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและสาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

ปี 2542
16 กันยายน 2542 และ 21 ตุลาคม 2542
สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบคำประกาศวิสัยทัศน์และภารกิจของมหาวิทยาลัยดังนี้
วิสัยทัศน์ พระจอมเกล้าธนบุรี
มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้
มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

ภารกิจ
1. พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนานักศึกษาให้มีความเป็นเลิศ ทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
2. พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการเรียนรู้ และ ระบบบริหารงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
3. วิจัยและนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนา ประชาคมไทย
18 ตุลาคม 2542
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประจำปีการศึกษา 2541 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับนักศึกษาโครงการผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระยะที่ 2 (ปี 2542-2546)
- คณะวิทยาศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ (ภาคพิเศษ)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม

ปี 2543
ปีการศึกษา 2543
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย เปิดโครงการวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตนานาชาติ - สองสถาบัน ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2543 คาดว่าจะมีนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 45 คน สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตนานาชาติ นักศึกษาจะศึกษาที่ มจธ. โดยใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ในขณะที่หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน นักศึกษาบางส่วนจะศึกษาที่ มจธ. เป็นเวลา 2 ปี และสามารถสมัครเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 และ 4 ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำของออสเตรเลียที่มีความร่วมมือกับ มจธ. เช่น มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย โดยนักศึกษาสามารถรับปริญญาจากมหาวิทยาลัยทั้งสอง
21 กรกฎาคม พ.ศ.2543
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

- จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 117 ตอนที่ 899
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดรับตรงนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

ปี 2544
- ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งโครงการทักษะวิศวกรรมอาหาร (Food Engineering Practice School Program : FEPS)
เมษายน 2544
ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ส่งทีมนักวิจัยของศูนย์ฯ เพื่อทำงานร่วมกับวิศวกรของบริษัท รีทไรท์ ประเทศไทย (ReadRite Thailand RRT) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมไมโคร - อิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตหัวอ่านฮาร์ดดิสก์แบบแม่เหล็ก และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก
17 พฤษภาคม 2544
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยมุ่งที่จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 ในระดับอาเซียนและมีเป้าหมายหลักในการพัฒนา 6 ด้าน (แผนกลยุทธ์ 6 Flagships) คือ
1. มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University)
2. มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University)
3. การสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science Strengthening)
4. การสร้างความเข้มแข็งทางด้านการบริหารจัดการ (Management Strengthening)
5. องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
6. การบริหารรายได้และต้นทุน (Cost Conscious and Revenue Driven)
ในระหว่างการระดมสมองต่อมา ผู้เข้าประชุมเห็นพ้องตรงกันว่า ถ้ามหาวิทยาลัยบรรลุวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญแก่ยุทธศาสตร์ด้านคนโดยเฉพาะนักศึกษา มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องแสวงหานักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นและมีลักษณะ เฉพาะ จึงกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมเรียกว่า การพัฒนานักศึกษาที่มีความเป็นผู้นำและความสามารถเฉพาะ (The Best and The Brightest) เป็นเป้าหมายหลักที่เจ็ด และเรียกแผนกลยุทธ์ใหม่ว่า “แผนกลยุทธ์ 6+1 Flagships”
16 มิถุนายน 2544
ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาเยี่ยมชมผลการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นายกสภามหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและนำชมผลงานวิจัย ซึ่งอธิการบดีสรุปการดำเนินงานของ มจธ. ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ทำโครงการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่โรงเรียนกำแพงแสน การจัดตั้งโรงเรียนดรุณสิกขาลัย โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงงานกลุ่มปิโตรเคมี โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดเชียงราย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวชมเชยการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อ มจธ. และวงการศึกษาไทย
27 ตุลาคม 2544
มจธ. นำผ้ากฐินไปทอดถวาย ณ วัดคลองสวน จังหวัดสมุทรปราการ
6 ธันวาคม 2544
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแปร์ปินญอง (University of Perpignan หรือ UP) และมหาวิทยาลัย นีซ-โซเฟีย อองติโปลี (University of Nice-Sophia Antipolis หรือ UNSA) ประเทศฝรั่งเศส ผลิตดุษฎีบัณฑิตสอง ปริญญา ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานเป็นแห่งแรกในเอเชีย เปิดห้องสอบพร้อมแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ ให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมและซักถามได้

ปี 2545
17 มกราคม 2545
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังโครงการหลวง ดอยอ่างขาง เพื่อทอดพระเนตรการคัด บรรจุ และระบบ Pre-Cooling ของอาคารผลิตผล สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
25 มกราคม 2545
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานพิธีเปิดงานเทคโนโลยีแฟร์ และโรงเรียนดรุณสิขาลัย
12 กรกฎาคม พ.ศ.2545
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครั้งที่ 44 มีมติ ดังนี้
- อนุมัติจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation : GMI) และแต่งตั้ง ผศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
15 กรกฎาคม พ.ศ.2545
- ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
- ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
27 สิงหาคม 2545
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2544 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
24 ตุลาคม 2545
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับมติให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ โครงการ Greater Mekong Subregion Tertiary Education Consortium (GMSTEC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิจัยและการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในสาขาที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิภาค (Regional Development)
พฤศจิกายน 2545
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดหน่วยงานใหม่ ชื่อว่า “บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม” หรือ Graduate School of Management and Innovation
25 ธันวาคม 2545
จัดตั้งสำนักงานเทคโนโลยี SMEs มจธ. (University Technology Office for SMEs หรือ UTO)
28 ธันวาคม 2545
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปิดอาคารผลิตผล โครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งทอดพระเนตรผลิตผลของเกษตรกรชาวเขา การตรวจสอบสารพิษตกค้าง และการทำงานของเครื่องเย็นเร็วโดยใช้น้ำและลมเย็น