Search

ก่อน และถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พ.ศ. 1781 – 1981
ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทาน สร้างเขื่อนกั้นหรือหรือทำนบกั้นน้ำ เรียกว่า สรีดภงค์ รวมทั้งมีการก่อสร้างถนนจากเมืองศรีสัชนาลัยถึงกรุงสุโขทัย เรียกว่าถนนพระร่วง และศิลปกรรมในสมัยสุโขทัยยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงฝีมือ
และความคิดสร้างสรรค์ของชาวสุโขทัย ทั้งด้านสถาปัตยกรรรม ได้แก่ เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูมและเจดีย์ทรงกลม แบบลังกา หรือแบบโอคว่ำหรือทรงระฆังคว่ำ รวมทั้งงานประติมากรรมที่นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยสำริด (ทองแดงผสมดีบุก) ที่มีลักษณะอ่อนช้อย งดงามประณีตมาก คือ พระพุทธรูปปางสีดา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผา โดยเฉพาะสินค้าที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องสังคโลก ซึ่งสามารถพบเตาเผามากมายในหลายเมือง ได้แก่ ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์
พ.ศ. 2054
อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึดมะละกาเป็นผลสำเร็จ ส่งคณะทูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงแผ่นดินสยาม การเข้ามาของชาวโปรตุเกสนี้ได้นำวิทยาการสมัยใหม่ คือความรู้เกี่ยวกับการสร้างป้อมปราการ อาวุธปืน วิธีการหล่อปืน การใช้ปืนไฟในการสงคราม รวมทั้งตำราบางอย่าง เช่น วิธีการทำขี้ผึ้งและตำราทำอาหารเข้ามาเผยแพร่ในกรุงศรีอยุธยา
ค.ศ. 1656 – 1684  (พ.ศ. 2119 – 2231)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศ เช่น ปอร์ตุเกส  อังกฤษ  และฝรั่งเศส ซึ่งมีบาทหลวงริโชด์  คณะเจซูอิต  ได้บันทึกว่า ชาวสยามมีการนับเวลาเป็นคืน และแบ่งช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน ออกเป็น 12 ชั่วโมง เที่ยงวันจะตรงกับ 6 โมง ส่วนกลางคืน แบ่งเป็น 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง
นอกจากนี้มีการตั้งชื่อวันตามชื่อดาวพระเคราะห์และมีการนับเป็นสัปดาห์ วันแรกคือวันจันทร์ วันสุดท้ายของสัปดาห์ คือวันอาทิตย์ ในขณะเดียวกันมีการแบ่งกลุ่มดาวจักรราศรีออกเป็น 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 30 องศา
มีแผนที่ดาว ประกอบด้วยเส้นศูนย์สูตร สุริยวิถี และอื่น ๆ
มีการคำนวณ การเกิดจันทรุปราคาได้ และ
มีความรู้เรื่องน้ำขึ้นน้ำลง ในแรม 15 ค่ำ และขึ้น 15 ค่ำ ระดับน้ำจะขึ้นสูง 20 ฟุต เป็นเวลา 12 ชั่วโมง และจะลดลงเป็นเวลา 12 ชั่วโมง เช่นเดียวกันและจะขึ้นลง 6 ชั่วโมง ในวันอื่น
(จดหมายเหตุดาราศาสตร์ จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชย์  หน้า 51)
** มีคัมภีร์สุริยยาตร์ การคำนวณการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งใช้อยู่ในภูมิภาคนี้และเมอร์ซิเดอร์สาลูแบรน ได้นำกลับไปให้เมอร์ซิเดอร์ แครสินี
พ.ศ.2204
สร้างเขื่อนเก็บน้ำที่ห้วยขี้เหล็ก เมืองลพบุรี
(ที่มา : สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ. 60 ปี อุทกวิทยา กรมชลประทาน. กรุงเทพฯ : สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ, 2550. หน้า 7)
22 กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1682  (2225)
บาทหลวงโธมัส  (Le. P. Thomas)  และบาทหลวงกุยส์  (Le. P. Gouge)  ได้ศึกษาค้นคว้าวิชาดาราศาสตร์ตามแนวทางตะวันตก ในราชอาณาจักรสยาม และบันทึกการสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่พระนครศรีอยุธยาว่าเกิดจันทรุปราคา เมื่อ  03.15 น.  และคายเมื่อ  04.52 น.
**  (จากเจ้าพระยาสู่ปารีส  หน้า 25)
ค.ศ. 2228 (1685)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งกรุงปารีส โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เชอราลิเบร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chovmont) เป็นเอกอัครราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ  ได้แก่  มายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยคณะบาทหลวงเจซูอิต ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้  ความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่  จากเอกสารของบาทหลวงตาชาร์และเมอซิเออร์ ลาลูแบร์  ได้กล่าวถึงกิจกรรมปรากฏการณ์  ปฏิบัติการของบาทหลวงเจซูอิต  ในราชอาณาจักรสยามมาก
10 ธันวาคม ค.ศ. 1685 (2228)
คณะเยซูอิต  ถวายการปฏิบัติการเบื้องพระพักตร์  การร่วมทอดพระเนตรจันทรุปราคา  ผลการจับเวลาการเกิดจันทรุปราคาทำให้ทราบตำแหน่งเส้นรุ้งเส้นแวงของกรุงศรีอยุธยาและเมืองละโว้
ค.ศ. 1685
การสร้างแผนที่ ได้สร้างแผนที่ประเทศไทยอุทิศให้เอกอัครราชทูต เดอ โชมองต์  ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1895  คาดว่าสร้างในปี ค.ศ. 1285 (ขจร  สุขพินิช)
ค.ศ. 1687
การพิมพ์แผนที่ราชอาณาจักรสยามของบาทหลวงโคโรเนลส์  พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โนแส็ง
ค.ศ. 1688
กางแผนที่ลำน้ำเจ้าพระยาของ เดอ ลามาร์  (De la mare)  วิศวกรชาวฝรั่งเศส  แสดงลำน้ำเจ้าพระยาจากปากน้ำถึงกรุงศรีอยุธยา  ปรากฏในหนังสือ Le Siam Ancien เป็นแผนที่ที่ชัดเจนกว่าที่ปรากฏในที่อื่น แสดงเมืองบางกอกไว้ชัดเจนว่าเป็นเกาะอยู่กลางแม่น้ำ  และท่านใช้คำอธิบายว่า  “L. De Bangkok  คำย่อ I คงหมายถึง Ile  แปลว่าเกาะ  (ขจร สุขมานิช  อยุธยาคดี  องค์การค้าคุรุสภา, 2545  หน้า  209)
29 เมษายน ค.ศ. 1688
คณะเยซูอิต ถวายการปฏิบัติการเบื้องพระพักตร์ การร่วมทอดพระเนตร สุริยปราคา ณ พระราชวังเย็นทะเลชุบศร เมืองละโว้  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประจักษ์ถึงความแม่นยำของการคำนวณเวลาเกิดและระยะเวลาต่าง ๆ ของสุริยปราคา  ทรงชื่นชมประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด พาวัลแรกซ์ ของดวงอาทิตย์
ค.ศ. 1688  (2228)
การก่อสร้างอาคารตึกแบบก่ออิฐถือปูน มีการสร้างป้อมปราการ ตามวิทยาการสมัยใหม่ มีหอวังเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีคลังสรรพาวุธ  และที่พักนายทหาร โดยมีวิศวกรชาวฝรั่งเศส มองสิเออร์ เดอลามาร์  (De. La Mare)  เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและวางแผนผังการก่อสร้าง  ในขณะเดียวกันมีการก่อสร้างพระราชวังไกรสรสีหราช หรือพระราชวังเย็นที่ทะเลชุบศร  เป็นอาคารติวแบบก่อิฐถือปูน  มีระบบประปา ใช้ท่อดินเผา  นำน้ำจากทะเลชุบศรและซับเหล็กมาใช้  และมีการก่อสร้างหอดูดาว ที่สันเปาโล ตามแบบหอดูดาวเมืองปารีส และหอดูดาวกรุงศรีอยุธยา หรือพระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์
ค.ศ. 1691
แผนที่ของ เอฟ เออร์แตงเยร์  (F. Erlinger)  ซึ่งท่านเดอ ลามูแบร์  อธิบายว่าผู้ทำแผนที่นี้ได้เดินทางไปทั่วประเทศไทย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พ.ศ.2310
- สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดฯ ให้ต่อเรือรบที่เมืองจันทบุรี    ผลิตอาวุธ และมีการสำรวจพันธุ์ไม้ โดยชาวต่างชาติ