Search

ยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พ.ศ.2424
- มีการนำโทรศัพท์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยวางสายโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพ-ปากน้ำ สมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้า- ออก
พ.ศ.2433
-  เปิดกิจการไฟฟ้า โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้าที่โรงทหารหน้า (กระทรวงกลาโหม และพระบรมมหาราชวัง ในปัจจุบัน)
- 5 กันยายน ตั้งโรงเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช  เป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรก
- ร.5 โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวง สังกัดกระทรวงโยธาธิการ
พ.ศ.2434
- ตั้งหน่วยวิเคราะห์แร่ ในกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา (ปัจจุบันคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ)
พ.ศ.2435
- มีการออกอัฐกระดาษใช้
- ทรงเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ ถึงปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ) ระยะทาง 21 กิโลเมตร และเป็นกิจการรถไฟของเอกชนสายแรกในประเทศไทย
พ.ศ.2438
- เริ่มมีวิชาวิทยาศาสตร์บรรจุในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น
- นายโห้ กาฬดิษย์  (พระยาเทพศาสตร์สถิตย์)  เป็น คนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดม ศึกษาในสาขาเกษตรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง ประเทศอังกฤษ และในปี พ.ศ. 2460 ได้ร่วมกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในกระทรวงธรรมการ นับเป็นก้าวสำคัญของการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของประเทศ
พ.ศ.2439
- 26 มีนาคม ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร เป็นกิจการรถไฟของรัฐบาลสายแรกในประเทศไทย
พ.ศ.2440
- คนไทยมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่องแรก ในสมัยนั้นโรงภาพยนตร์สยาม มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี (ที่มา : OHM : Out of Home Magazine year Book 2007 หน้า 38)
พ.ศ.2441
- มีการจัดโครงการศึกษาของชาติ ฉบับ พ.ศ.2441 ที่จะจัดให้มีการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา คำว่า "มหาวิทยาลัย" ยังไม่บัญญัติขึ้น แต่ใช้คำว่า "สากลวิทยาลัย"
ส่วนคำว่า "มหาวิทยาลัย" เป็นคำที่มาจาก มหา+วิทยาลัย ส่วนในภาษาฮินดี เรียกว่า "วิศววิทยาลัย" (Vishvavidyalaya)
(ที่มา : ข้อมูลจาก Update มีนาคม 2551 หน้า 21.)
พ.ศ.2443
- โรงเรียนแพทยาการ โรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 ได้รับการยกฐานะให้เป็น  “โรงเรียนราชแพทยาลัย”  ต่อมาได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเปลี่ยนชื่อเป็นคณะ แพทยศาสตร์  (ปัจจุบันคือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)
พ.ศ.2444
- พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม)  สำเร็จ วิชาการเพาะปลูกในระดับอุดมศึกษาจากประเทศอังกฤษ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมช่างไหม (ปัจจุบัน คือ กรมวิชาการเกษตร) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446
พ.ศ.2445
- มีการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เป็นครั้งแรก ชนิด 5, 10, 20, 100 และ 1,000 บาท ตามลำดับ
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา "กรมคลอง" ขึ้นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการน้ำของประเทศให้เป็นไปอย่าง ถูกต้องตามหลักวิชาการ (ปี พ.ศ.2457 เปลี่ยนเป็น "กรมทดน้ำ" ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเนื่องจากการปรับเปลี่ยนภารกิจมาสู่การจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการ เกษตร ขยายและบำรุงพื้นที่เพาะปลูกให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
- พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)  ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ของไทยจากภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อทำเป็น  “หอพรรณไม้”  และในปี พ.ศ. 2466  ได้เรียบเรียงหนังสือ  “พรรณไม้ไทย”  ซึ่ง จัดเป็นตำราพันธุ์ไม้เล่มแรกของไทย นอกจากนี้ท่านยังได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศในการตั้งชื่อ วิทยาศาสตร์ให้ถึง 6 ชนิดด้วยกัน
พ.ศ.2447
- 30 มกราคม 2449
บริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด เริ่มดำเนินการครั้งแรกที่ตำบลบ้านหม้อ ปากคลองตลาด
พ.ศ.2448
- กำเนิดโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทย + ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างในประเทศไทยคือ "นางสาวสุวรรณ" โดยทีมงาน Universal ส่วนภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยทีมงานคนไทย ชื่อเรื่อง "โชคสองชั้น"
(ที่มา :OHM : Out of Home Magazine year Book 2007 หน้า 28)
พ.ศ.2449
- กำเนิดโรงภาพยนตร์
พ.ศ.2452
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมสวนหลวง (หอวัง) ที่วังสระปทุมวัน เพื่อฝึกหัดกุลบุตรไทยเข้ารับราชการในกรมแผนที่ กรมคลองและกรมเพาะปลูก (กรมช่างไหมเดิม)
พ.ศ.2453
- การประกวดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศในงาน “การแสดงกสิกรรมแลพาณิชการ”  ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงเทพฯ มีผู้นำพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะดีเด่นหลายพันธุ์มาประกวด ซึ่งต่อมาได้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้นโดยภูมิปัญญาของเกษตรกรไทย
พ.ศ.2454
- เริ่มกิจการการบินของไทย โดยจัดตั้ง "แผนกการบิน" สังกัดกระทรวงกลาโหม
- นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ – สุณี สุวรรณประทีป)  นายร้อยเอกหลวงอาวุธลิขิกร  (พันเอกพระยาเวหาสยาน – หลง สินศุข)  และนายร้อยโททิพย์ (นาวาอากาศเอกพระยาทะยานพิฆาต – ทิพย์ เกตุทัต)  เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรกที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่อากาศยานจากสหพันธ์การบิน ระหว่างประเทศ ซึ่งต่อมาได้นำความรู้นี้มาพัฒนาวิทยาการด้านการบินในประเทศ
พ.ศ.2448
- มีการจัดแสดงเครื่องบินครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้สนามม้าสระปทุม (ปัจจุบันคือ ราชกีฑาสโมสร) และส่งผลให้มีการจัดตั้งกองบิน,ส่งนายทหารเข้ารับการศึกษาวิชาการบิน ในเวลาต่อมา โดยในปี พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหม สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก"
พ.ศ.2455
- ตั้งโรงไฟฟ้าสามเสน
พ.ศ.2456
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดสถานปาสเตอร์ (เวลานั้นเรียกว่า ปัสตุรสภา ปัจจุบันคือ สถานเสาวภา) และสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้
พ.ศ.2459
- สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เริ่มต้นมี 4 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มก่อตั้งในปีพุทธศักราช 2459 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้รับการก่อตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์ในปีพุทธศักราช 2486
- พระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูต) จัดตั้งนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิต จัดเป็นสถานีทดลองเฉพาะข้าวแห่งแรกของไทย ทำการวิจัยทดสอบพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวนาเมือง (ข้าวขึ้นน้ำ) ได้ข้าวพันธุ์ดีหลายพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์  “ปิ่นแก้ว”  ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวหนัก  (ข้าวนาปี)  ได้รับรางวัลชนะเลิศในงานประกวดข้าวทั่วโลกในงานนิทรรศการ World’s Grain Exhibition ที่ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2476 ส่งผลให้ข้าวไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนกระทั่งทุกวันนี้
- จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาราชแพทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยวิชาการอิสระ ต่อมาได้พัฒนาต่อเนื่องและขยายเป็นคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 
- หม่อมเจ้าสิทธิพร  กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรผสมผสาน เสด็จไปเป็นเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมที่ฟาร์มบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ใช้ความรู้ระดับสูงมาผสมผสานกับประสบการณ์ที่ได้จากการทดลอง จนสามารถผลิตผลผลิตจากพืชพันธุ์ดีออกสู่ท้องตลาด เช่น แตงโมพันธุ์บางเบิด
พ.ศ.2464 - 2474
- โดยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ และความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ ได้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนในราชแพทยาลัย (ต่อมาเป็นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล)  ทำให้แพทยศาสตร์ศึกษาในประเทศไทยเข้าสู่มาตรฐานสากล
พ.ศ.2470
- ดร. ตั้ว ลพานุกรม ได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตเกียรตินิยมในสาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเข้ารับราชการในตำแหน่งนักเคมีของ  “ศาลาแยกธาตุ”  ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นกรมวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2478  (ปัจจุบันคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ) และ ดร. ตั้ว ลพานุกรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีคนแรก (พ.ศ. 2478 - 2484)
- โดยพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "กรมชลประทาน" เพื่อให้ตรงกับงานที่ปฎิบัติอยู่จริง
- กรมอากาศยาน กองทัพบก (กองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน) โดยหลวงเวชยันตรังสฤษดิ์ (พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ)  ออกแบบและสร้างเครื่องบินปีก 2 ชั้น ชื่อ “บริพัตร”
พ.ศ.2473
- กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงและเริ่มกระเสียงทางวิทยุในประเทศ ไทย
พ.ศ.2475
- ปีแห่งมหามงคลสมัยเฉลิมฉลองพระนครมีอายุครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น คือ ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงภาพยนตร์แห่งใหม่และทันสมัยและโอ่โถงหรูหรา จุผู้ชมได้มากกว่า 2,000 คน และนับเป็นโรงมหรสพโรงแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศ และระบบไอน้ำ (Chilled Water System) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาศรี พิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว.มูล ดารากร) ประกอบพิธีเปิดแทนพระองค์เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2476 ภาพยนตร์ที่ฉายเป็นปฐมฤกษ์เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล" (OHM : Out of Home Magazine year Book 2007 หน้า 38)
- หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)  ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง  “สภาพเคลื่อนที่ได้ของไอออนในก๊าซ”  ร่วมกับเพาเวลล์  (C.F. Powell  นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี พ.ศ. 2493)  ในวารสาร Proceedings of the Royal Society of London  ต่อมาหลวงพรตพิทยพยัตได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2477
- ศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ  นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงและทุนมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลและมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ตามลำดับ  ได้ร่างหลักสูตรปริญญาบัณฑิตทางเคมีขึ้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาทางด้านเคมีในประเทศไทย
- จัดตั้งชุมนุมวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเปลี่ยนเป็น "สาขาวิทยาศาสตร์" ของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และเปลี่ยนเป็น "สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2491 ต่อมาจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ให้เป็น "สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวท.) จัดพิมพ์วารสาร Science Asia
พ.ศ.2478
- ม.ร.ว. จักรทอง ทองใหญ่  แลนายอารยันต์ มันยีกุล  ได้วางรากฐานการศึกษาทางกีฏวิทยา โดยสร้างระบบการรวบรวมตัวอย่างและการศึกษาคุณ-โทษของแมลงทางการเกษตร ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แมลง  “จักรทอง ทองใหญ่”  ที่กรมวิชาการเกษตร  นับเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
พ.ศ.2479
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิม พรมมาศ ค้นพบวงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ดและได้รายงานในวารสารต่างประเทศในปีต่อมา ซึ่งการค้นพบนี้ได้นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจทางด้านสาธารณสุขในประเทศไทย
พ.ศ.2480
- ตั้งโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
พ.ศ.2487
ดร. จ่าง รัตนะรัต ร่วมกับ พล ร.ต. สมพันธ์  บุนนาค และนายวิทย์ ภิรมย์ภักดี ได้ผลิตแอมโมเนียเพื่อใช้ในการทำน้ำแข็งจากเกลือแอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียมฟอสเฟต และแอมโมเนียมคลอไรด์ โดยการทำปฏิกิริยากับปูนเผา นับเป็นการบุกเบิกอุตสาหกรรมเคมีโดยการใช้วัตถุดิบในประเทศ
พ.ศ.2497
โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแผนกงานกายอุปกรณ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก