Search
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ.2491
- ตั้งโรงเรียนช่างฝีมือโรงเรียนมักกะสัน (ต่อมาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อ โรงเรียนช่างฝีมือ พระดาบสการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2534)
พ.ศ.2492
- 1 มกราคม ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก-UNESCO) และรัฐบาลอนุมัติให้สร้างอาคารสำนักงานส่วนภูมิภาคขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2504 ปัจจุบันคือ อาคาร 100 ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
พ.ศ.2493
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานีคลอง 6 ได้เริ่มวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวตั้งแต่ ปี 2493-2497 ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์วิจัยข้าวที่ดีที่สุดของโลก โดยมีนักวิชาการจากกรมการข้าว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ปรึกษา (วารสารวิทยาศาสตร์ ปีที่ 61 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2550 หน้า 135-142)
พ.ศ.2496
- ตั้งกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
พ.ศ.2497
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบหมายให้วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (ชื่อในขณะนั้น) พัฒนาหุ่นยนต์เดินได้ตามแนวพระราชดำริ พร้อมพระราชทานทุนทรัพย์ เพื่อประดิษฐ์หุ่นยนต์คุณหมอ ที่สามารถเดิน ยกมือไหว้ ฟัง และพูดจาโต้ตอบ ร้องเพลง คิดเลข ตอบปัญหา วินิจฉัยโรค เป็นประชาสัมพันธ์ ครู จิตแพทย์ และเเครื่องทดลองได้สำเร็จ นับว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ของไทย (ที่มา : นิตยสาร a day ฉบับเดือนธันวาคม 2550. หน้า 26)
พ.ศ.2502
- ตั้งสภาวิจัยแห่งชาติ
สภาวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2502 โดยมีความมุ่งหมายให้เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการแก่รัฐบาล หรือเป็นสภาสูงสุดทางวิชาการในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องแนวนโยบายการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ และพิจารณาเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับวิจัย หรือที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ดำเนินการ
การบริหารงานของสภาวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ สภาวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินงาน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2551 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2552.
พ.ศ.2504
- ตั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
- นำรถจักรดีเซลมาใช้แทนรถจักรไอน้ำ
พ.ศ.2506
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย (สวป.)
- ตั้งศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
พ.ศ.2507
- ตั้งศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย
พ.ศ.2510
- ตั้งสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
พ.ศ.2512
- เปิดโรงพิมพ์ธนบัตร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งโครงการหลวงขึ้นในปี พ.ศ.2512 เพื่อให้ราษฎรชาวเขาในท้องถิ่นทุรกันดารลดการปลูกพืช
เสพติดมีอาชีพและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ต่อมาในปีพ.ศ.2535 ทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนสถานภาพโครงการหลวงเป็น "มูลนิธิโครงการหลวง (Royal Project Foundation)" เพื่อเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ถาวร ในการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงได้ดำเนินงานวิจัย พัฒนา และส่งเสริมชุมชนชาวเขาในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 38 แห่ง บนพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน และพะเยา (ที่มา : มูลนิธิโครงการหลวง. รายงานประจำปี 2551 มูลนิธิโครงการหลวง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการหลวง, 2552. หน้า 2.)
พ.ศ.2513
- 5 สิงหาคม ตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
พ.ศ.2519
- ตั้งศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูลจุลินทรีย์
พ.ศ.2521
- สถาปนาการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท)
พ.ศ.2524
- ตั้งโรงงานต้นแบบผลิตแก๊สโซฮอล์แห่งแรกของประเทศไทย
- 2 มิถุนายน
จัดตั้ง คณะอนุกรรมการประสานงานโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย (Committee on Science of Technology-THAILAND : COST –THAILAND)
มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรอื่น ๆ จัดการประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยแยกเป็นอนุกรรมการ 9 คณะ คือ
(1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
(2) ด้านอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์
(3) ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
(5) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
(6) ด้านการวิจัยพลังงานนอกแบบ
(7) ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
(8) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
(9) ด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์
โดยในการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาในครั้งแรกนั้น เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติต้องทำหน้าที่ประสานงานการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับหน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เช่นคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ประสานงานโครงการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในคณะอนุกรรมการชุดแรกนั้นได้มี ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์และ ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย โดยในการประชุมคณะอนุกรรมการครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน 2524 จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.2527
- จัดตั้งศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (Thai Packaging Centre) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งธนาคารเชื้อพันธุ์พืชแห่งชาติ
- จัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (The Thailand Development Research Institute) หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI)
พ.ศ.2526
- ศูนย์บริการเอกสารวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้จัดพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย (Scientific Serials in Thai Libraries) ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสหบัตรวารสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยรวบรวมรายการวารสารและรายงานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐศาสตร์สังคมจากห้องสมุดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 8902 รายการ
พ.ศ.2528
-
พ.ศ.2529
- 16 กันยายน
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- 25 ธันวาคม
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ได้รับเทิดพระเกียรติ เป็นเจ้าฟ้านักวิจัยเกียรติคุณ จากคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ.2532
- ประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้ง 30 ณ เมืองบราวน์ชไวท์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมันีตะวันตก) เป็นครั้งแรก
พ.ศ.2533
- โครงการสมองไหล ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2533 โดยเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างสำนักงานที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (OSTC) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมูลนิธิดำรงลัทธพิพัฒน์ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) สมาคมนักวิชาชีพไทยในญี่ปุ่น (ATPIJ) และสมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรป (ATPER) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของนักวิชาชีพไทยจากต่างประเทศและในประเทศ ต่อมาคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบจัดทำเป็นโครงการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ต่อมาในได้มีพระราชกำหนด จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อพวช. เมื่อ
วันที่ 27 มิถุนายน 2538 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543
- 14 ธันวาคม 2533
บริษัท เอสโซ่ เอ็กโพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น อิงค์ ได้รับสัมปทานจากกระทรวงพลังงาน (ในปี พ.ศ.2522) เพื่อสำรวจขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติ ในบริเวณแหล่งที่ราบสูงโคราช และสามารถนำขึ้นมาผลิตในเชิงพาณิชย์เป็นผลสำเร็จคือ หลุมขุดเจาะน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันคือ ศูนย์ผลิตก๊าซธรรมชาติน้ำพอง
พ.ศ.2534
- จัดตั้งศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ
- จัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอยู่ภายใต้กำกับดูแล
ของ "คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
พ.ศ.2535
- 1 มกราคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลขึ้นเป็นพระราชานุสรณ์
ถวายแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี
แห่งวันพระราชสมภพและอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ.2537
- 10 พฤษภาคม 2537
คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเฉลิมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม 2544 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชามอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานกลางจัดงาน "วันนักประดิษฐ์"
พ.ศ.2538
- 30 มกราคม 2538
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) (National Science Museum) จัดตั้งเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พ.ศ.2538 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินงานบริหาร และพัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาศาสตร์ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ
- เมษายน
จัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ มีดร.สง่า สรรพศรี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร (ที่มา : มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี. ความสุขในสวนพฤกษศาสตร์. กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์, 2542.)
- 9 เมษายน
กรุงเทพมหานคร อนุมัติสัมปทานให้บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนทางยกระดับในกรุงเทพฯ (รถไฟฟ้าบีทีเอส)
- 21 สิงหาคม
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย"
พ.ศ.2539
- จัดตั้งโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
- จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ
พ.ศ.2540
- จัดตั้งสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
- 24 พฤศจิกายน 2540
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซล และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นมา
พ.ศ.2541
- จัดตั้งสำนักรับรองระบบคุณภาพ
พ.ศ.2542
- จัดตั้งโครงการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานและเทคโนโลยีสะอาด
- 4 มกราคม ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกศูนย์พลังงานอาเซียน
- 12 ตุลาคม
จัดตั้งมูลนิธิ สอวน. (มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์
- 5 ธันวาคม เปิดใช้งานรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนบนทางยกระดับ 2 สายหมอชิต-อ่อนนุช และสายสนามกีแห่งชาติ-สะพานตากสิน เป็นกิจการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
พ.ศ.2543
- จัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
- บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เข้าดำเนินการวางรางรถไฟติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและบริหารการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินระหว่างบางซื่อหัว-หัวลำโพง ระยะทาง 20 กิโลเมตร เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2547 เป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินสายแรกของกรุงเทพมหานคร
- 21 ธันวาคม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ประกาศการค้นพบ จำปีสิรินธร อย่างเป็นทางการ โดยได้
รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธย เป็นชื่อพรรณไม้ชนิดนี้ว่า Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin
เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic to Thailand) ค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น จากพื้นที่ป่าพรุน้ำจืด ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
พ.ศ.2544
- คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย"
พ.ศ.2545
- 19 มกราคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลากฤษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารออกแบบโดยเฮลมุต ยาห์น (Helmiy Jahn) สถาปนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน โครงสร้างหลักประกอบด้วยเหล็กและแก้ว ซึ่งสถาปิกกล่าวว่าเป็น "สถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 21" สนามบินแห่งนี้เริ่มเปิดทดลองใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 และเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 ใช้งบประมาณทั้งโครงการประมาณ 155,000 ล้านบาท
(พ.ศ.2539
- จัดตั้งโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
- จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) แห่งแรกในประเทศไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรีในปีพ.ศ.2532)
- 24 กันยายน 2545
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2545-2549
พ.ศ. 2546
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทน เริ่มดำเนินการจัดทำโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศไทย
- พบพรรณไม้ในตระกูลมหาพรหมพรรณใหม่ ในปีพ.ศ.2549 ได้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาติจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ ว่า "มหาพรหมราชินี"
- 26 มิถุนายน : ค้นพบ "กบปากใหญ่โคราช หรือกบหัวใหญ่โคราช" ภายในป่าดงดิบ ผืนป่าสงวนมณฑลสะแกราช และขึ้นทะเบียนเป็นกบชนิดใหม่ของโลก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551
พ.ศ.2549
- 21 เมษายน 2549
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (Thailand Institute of Nuclear Technology) เป็นหน่วยงานที่แยกออกมาจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยจัดตั้งตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 โดยมีภารกิจหลักในการวิจัย พัฒนาให้บริการ และเผยแพร่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติอยู่ในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตเซลลูโลสจากน้ำสับปะรดใช้เป็นวัสดุปิดแผลและหน้ากากเสริมความงาม
พ.ศ.2550
- เซลล์แสงอาทิตย์โครงสร้างควอนตัมดอต- ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว (จฬ. - ผลงานวิจัยเด่น สกว.)
- วัสดุฉลาดสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง- รศ.ดร.สุพล อนันตา (มช.- ผลงานวิจัยเด่น สกว.)
- วว.ค้นพบ "อาหารเสริมและชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์ปีก"
- วว. ค้นพบ "จำปีช้าง…พืชชนิดใหม่ของโลก"
- สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม 2550 ของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ (สนช.) :
นูทรา กาบาไรซ์ ข้าวกล้องหอมมะลิเสริมสุขภาพ โดย บ.ปทุมไรซ์มิลล์ แอนด์ แกรนารี จำกัด และบ. ธวัชชัยอินเตอร์ไรซ์ จำกัด,
กระเป๋าผ้านาโน : นวัตกรรมถุงสวย ช่วยโลกคลายร้อน จากบ.ไอ.ซี.ซีง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน), มิกซ์ เรียลลิตี้ : โลกสามมิติแห่งการเรียนรู้ โดย บ.ลานเกียร์เทคโนโลยี จำกัด, ซีดีโฟร์ซีเลกต์ :
ชุดตรวจนับเมล็ดเลือดขาวราคาประหยัด โดย บ.ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด,
เทคโนโลยีตรวจสุขภาพระดับยีน : วิเคราะห์เจาลึกรักษาโรคตรงจุด โดย บ.ฮาร์ท เจเนติกส์จำกัด, อูมามิน :
สารสกัดจากยีสต์ทดแทนผงชูรส โดย บ.สเปเชียลตี้ ไบโอเทค จำกัด, พร้อมมาก พี.จี. :
พลังงานสะอาดจากขยะพลาสติก โดย บ.พร้อมมากจำกัด, คาริโอ บราโว :
รถกอล์ฟไฟฟ้าสัญชาติไทยก้าวไกลสู่ต่างแดน โดยบ.ที เอส วีฮีเคิลเทล จำกัด, โกลเด้นรับเบอร์ :
ยางแผ่นเกรดพิเศษจากอีสาน โดย บ.ยางไทยอีสาน จำกัด และ ฟอร์แคร์ :
กะทิธัญพืช อร่อยเพื่อสุขภาพ โดย บ.ฟอร์แคร์ จำกัด
- 22 กุมภาพันธ์ 2550
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
(Telecommunications Research and Industrial Development Institute : TRIDI)
- 8 เมษายน 2550
ทรงพล สมศรี นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สังกัดกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรค้นพบ ทุเรียนสายพันธุ์ใหม่ หรือทุเรียนไร้กลิ่น
- 14 สิงหาคม 2550 กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกอนุสิทธิบัตรให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการคิดค้นประดิษฐ์ "อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายก๊าซสำหรับเครื่องยนต์เบนซินแบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์" หรือ ECU (Electronic Control Unit) โดยนายเกรียงไกร จิรกวีกุล นักวิจัยฝ่ายวิจัยวิศวกรรมและเครื่องยนต์ทดสอบ (วยญ.)
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2550 ถึงวันที่ 9 มีนาคม 255 ด้วยสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรทุกประการ
(ที่มา :จดหมายข่าวสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2550 หน้า 2 / www.pttplc.com)
- เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผลิตยาสามัญ AZT เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ได้เป็นประเทศแรกของโลก รวมถึงยาต้านเอดส์สตรีค็อกเทล (วารสารลูกช้างสัมพันธ์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2550 : หน้า 5-8)
- 27 พฤศจิกายน 2550
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2550 ครั้งที่ 16 รางวัลเพื่อความผาสุกของมวลมนุษยชาติ
- สาขาการแพทย์ : ศ.ดร.อักเซล อูลล์ริช (Axel Ullrich) ค้นพบและศึกษาลักษณะทางอณูชีววิทยาของยีนมะเร็งในโรคมะเร็งเต้านม ที่เรียกว่า เฮอร์ 2 (HER2/c-erbB2)
- สาขาการสาธารณสุข : ศ.นพ.เบซิล สจ๊วต เฮตเซล (Basil Stuart Hetzel) ค้นพบเรื่อง การขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
- สาขาการสาธารณสุข : น.พ.ซานดุ๊ก รูอิต (Sanduk Ruit) พัฒนาวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบที่ไม่ต้องเย็บ (Suture-less operation)