Search


วัน/เดือน/ปี พ.ศ.
มหาวิทยาลัย/สถาบัน/องค์กร/หน่วยงาน
ทูลเกล้าฯ ถวาย
13 พฤศจิกายน 2539
วิทยาลัยแพทย์รักษาโรคทรวงอก
แห่งสหรัฐอเมริกา
(The American College of Chest Phyicians)
รางวัล The Partnering for World Health Award ในฐานะที่ทรงวิริยะอุตสาหะสนับสนุนให้มีการป้องกันและรักษาโรคทรวงอกในประเทศไทย
18 กุมภาพันธ์ 2540
ศาสตราจารย์ ดร. กอดวิน โอ.พี.โอบาชิ เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก อุตุนิยมวิทยาโลก (Award of Recognition of His Majesty's Strong Support for Meteorology and Operational Hydrology) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสดุดีพระปรีชาสามารถ และพระราชอัจฉริยภาพที่ทรงนำความรู้ และพระราชวินิจฉัยนานัปการ ด้านอุตุนิยมวิทยา
25 มิถุนายน 2540
The International Council for Control of Iodine Deficiency Disorders (ICCIDD) เหรียญทองเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน ฐานะที่ทรงเป็นทั้งผู้นำ ผู้บุกเบิก และผู้ดำเนินงานโครงการควบคุมปัญหาการขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย
8 กรกฎาคม 2540
คณะกรรมการรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์
ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
แผ่นโลหะเกียรติยศด้านวรรณกรรม (S.E.A. Write Award)
24 พฤศจิกายน 2541
สหพันธ์องค์การต่อต้านวัณโรค
และโรคปอดนานาชาติ
(The International UnionAgainst Tuberculosis or Lung Disease : IUATLD)
เหรียญทองสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยต่อสุขภาพปอด
ของประชาคมโลก (Gold Medal Award)
3 มีนาคม 2542
สโมสรไลออน (The Lions Club International) รางวัล Lions Humanitarian Award ในฐานที่ทรงอุทิศพระองค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย
โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการศึกษา
8 ธันวาคม 2542
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization : FAO) เหรียญเทเลฟูด (Telefood medal) เหรียญแรกของโลก ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทางการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพื่อยกระกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร และสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
14 มกราคม 2543
คณะการดนตรีแห่งมหาวิทยาลัยเยล เหรียญทองแซนฟอร์ด (Sanford Medal) เพื่อสดุดีพระ เกียรติคุณด้านการดนตรี
19 กุมภาพันธ์ 2543
คณะกรรมการโอลิมปิคสากล (IOC) รางวัล Lalaounis Cup เพื่อสดุดีพระปรีชาสามารถด้านการ กีฬาและพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการกีฬาไทยและระหว่างประเทศ
31 พฤษภาคม 2543
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) โล่เฉลิมพระเกียรติ (WHO Plaque) ในฐานะที่ทรงสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขทุกด้านในประเทศไทย รวมทั้งการงดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก
5 มิถุนายน 2543
นายโยเซ ลอริโย ประธานสมาคม The Belgians Chamber of Investors
สถาบันส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์
แห่งราชอาณาจักรเบลเยี่ยม
เหรียญรางวัล MCEt de Plavention ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจสร้างสรรค์สรรพสิ่งนานัปการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์
2 พฤศจิกายน 2543
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
วิทยาเขตเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอเนีย
เหรียญเบิร์กลีย์ (The Berkeley Medal) เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นคุณอเนกอนันต์ต่อสังคม
16 กุมภาพันธ์ 2544
นาย Jose Loriaux ประธานองค์กร BRUSSELS EUREKA แห่งราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และคณะ ในฐานะองค์กรผู้จัดงาน BRUSSELS EUREKA 2000 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมระดับโลกจากผลงาน"เครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย"ณ ประเทศเบลเยี่ยม ดีเด่น 5 รางวัล คือ
1. เหรียญรางวัล Prix OMPI (Organisation Mondiale De La Propriete Intelietuelle) พร้อมประกาศนียบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
2 .เหรียญรางวัล Gold Medal with Mention และประกาศนียบัตรเกียรตินิยมจาก BRUSSELS EUREKA 2000
3 .ถ้วยรางวัล Grand Prix International (International Grand Prize)
4. ถ้วยรางวัล Minister J.CHABERT (Minister of Economy of Brussels Capital Region)
5. ถ้วยรางวัล Yugosiavia
26 พฤศจิกายน 2544
สภามวยโลก เหรียญทองคำ Golden Shining Symbol of World Leadership เพื่อตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสนับสนุนการกีฬาของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬามวย
25 กุมภาพันธ์ 2547
โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ
(United Nations Human Settlements Programme : UN HABITAT)
รางวัล UN HABITAT scroll of Honour Award (Special Citation) เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย ทั้งในเมืองและชนบท รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานอย่างยั่งยืน
23 พฤษภาคม 2548
สมาคมสินเชื่อการเกษตร และชนบทภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Rural and Agricultural Credit Association : APRACA) รวงข้าวทองคำ (Golden Ear of Paddy) เพื่อตระหนักและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อพัฒนาชนบทและการเกษตร
26 พฤษภาคม 2549
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) โดยนาย Kofi Annanเลขาธิการสหประชาชาติ รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้วยความวิริยะอุตสาหะในการพัฒนา และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย เป็นรางวัลเกียรติยศที่ริเริ่มขึ้นใหม่ขององค์การสหประชาชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้เป็นพระองค์แรก
20 มิถุนายน 2549
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16
กุสตาฟ แห่งสวีเดน ประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิลูกเสือโลก (World Scout Foundation)
อิสริยาภรณ์สดุดีลูกเสือโลก (World Scout Foundation) ในฐานะพระประมุขแห่งลูกเสือไทย ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ฐานะพระประมุขแห่งลูกเสือไทย ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เหล่าลูกเสือในการสนับสนุนการพัฒนาระดับประเทศ ทรงสนับสนุนคณะลูกเสือไทยให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยผ่านการให้การศึกษาแก่เหล่าลูกเสือ ทั้งในระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับระหว่างประเทศ นอกจากนี้พระราชกรณียกิจในการสนับสนุนกิจการลูกเสือไทย ได้เป็นแรงบันดาลใจให้บุคลที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือในประเทศไทย และในเวทีกิจการลูกเสือโลก
23 ตุลาคม 2549
มูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ (The World Food Prize Foundation) โดยนาย Kenneth M.Quinn เหรียญรางวัลบอร์ล็อค (The First Dr.Norman E. Borlaug Medallion) เป็นรางวัลพิเศษ จัดทำครั้งแรกในปี 2549 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้เป็นพระองค์แรก ในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อขจัดความหิวโหยและความยากจนของพสกนิกร
ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
31 มกราคม 2550
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทของไทยให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
16 พฤษภาคม 2550
นายชาลิม อิสซา อาลี อัล กัตตาม, อัล ซาอาบี (Mr.Sallm issa All Al Kattam, Al Zaabl) เอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ประจำประเทศไทย
โล่รางวัลเกียรติยศการศึกษาวิจัยการทำฝนเทียมและพัฒนาดัดแปลงสภาวะอากาศ (UAE International Prize for Weather Modification) ) รางวัลดังกล่าวเกิดจากความคิดริเริ่มของ เชค ชัยยิด บิน สุลต่าน อัล นะห์ยัน (His Highness Sheikh Zayed bin Sutan Al Nahyan) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเจ้าผู้ครองรัฐอาบูดาบี เมื่อปีพุทธศักราช 2546 โดยคณะกรรมการตัดสินรางวัลเพื่อการศึกษาวิจัยการทำฝนเทียมและพัฒนาดัดแปลงสภาวะอากาศ ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร่วมกับองค์การอุตุนิยมโลก (World Meteorological Organization-WMO) มีมติให้ทูลฯ เกล้าถวายรางวัลดังกล่าว
23 กรกฎาคม 2550 มูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ (The World Food Prize Foundation) โดย นายโรเบิร์ต ดี. เรย์ อดีตผู้ว่าการรัฐไอโอวา น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเหรียญดอกเตอร์นอร์แมน อี. บอร์ลุก เวิลด์ ฟู้ด ไพรซ์ เมดัลเลียน (Dr.Norman E. Bortaug World Food Prize Medallion) สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยให้มีโภชนาการที่ดี และเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
12 พฤศจิกายน 2550 องค์กรด้านการประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ สาธารณรัฐฮังการี (International Federation of Inventions Association : IFIA) โดย ดร.แอนดร้า วาเดรส ถ้วยรางวัลไอเอฟไอเอ คัพ (IFIA CUP) 2007 ทูลเกล้าฯถวายรางวัลผลงาน เรื่อง “กังหันน้ำชัยพัฒนา” และเหรียญ จีเนียส ไพรซ์ (Genius Prize) ผลงาน เรื่อง “ทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” จากองค์กร ไอเอฟไอเอ สาธารณรัฐฮังการี และ 2. รางวัลสเปเชียล ไพรซ์ พร้อมประกาศนียบัตรจากองค์กรเคไอพีเอ สาธารณรัฐ เกาหลี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก
12 พฤศจิกายน 2550 องค์กร Korea Invention Promotion Association (KIPA) สาธารณรัฐเกาหลีใต้ โดย นายลี จิบ จุง รางวัลสเปเชียล ไพรซ์ พร้อมประกาศนียบัตรจากองค์กรเคไอพีเอ สาธารณรัฐ เกาหลี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

ปรับปรุง เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2554