Search



นโยบายการคลัง : เมื่อมีการยกเลิกพระคลังสินค้า รายได้ของรัฐถูกจำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศและภาษีขาเข้าขาออกเท่านั้น เงินรายได้จากการผูกขาดและเก็บภาษีชาวต่างประเทศซ้ำซ้อนก็ขาดไป ทำให้รายได้ของรัฐบาลลดน้อยลง  ทรงเพิ่มการจัดเก็บระบบภาษีอากรให้เป็นแบบแผนมีการเพิ่มชนิดของภาษีอากรโดยผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร   เพิ่มชนิดของภาษีอากรอีก 16 ชนิด และพยายามส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสินค้าเข้า-ออกให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการชักชวนชาวต่างประเทศให้เข้ามาค้าขาย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลผลิตในประเทศ

การอุตสาหกรรมและเครื่องจักรการผลิต : ทรงส่งเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ไปดูงานด้านการก่อตั้งโรงปูนที่สระบุรี ในปี 2401

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา (23 พฤศจิายน 2363-29 ตุลาคม 2404)
พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี

ทางด้านอุตสาหกรรมที่ผลิตในประเทศ มีโรงสีข้าว และเครื่องจักรสำหรับสีข้าวเป็นครั้งแรก (บางกอกรีคอเดอร์, 2409 : 243) โรงงานหีบฝ้ายด้วยเครื่องจักรทำให้ราษฎรผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้น มีโรงงานรับซื้อฝ้ายโดยตรง (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ,จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 เลขที่ 161 จ.ศ. 1277) โรงเลื่อยจักร ซึ่งใช้เครื่องจักรแทนแรงคนที่แต่เดิมเป็นการเลื่อยด้วยมือ ทำให้ส่งไม้โดยเฉพาะไม้สักไปขายต่างประเทศได้มากขึ้น (Bangkok Calender, 1862 :4)

บริษัท มาร์กวอลด์ (Markwald) ของเยอรมัน

การตั้งบริษัทการค้า- ห้างร้าน ของชาวต่างประเทศ : มีการตั้งบริษัทการค้าของ

ชาวต่างประเทศ ซึ่งตั้งห้างร้านค้าขายอยู่ในกรุงเทพฯ หลายบริษัท  เช่นห้างปากเกอร์ กูดเดล (Parker Goodale) ห้างเมสัน (Mason) ห้างบอร์เนียว (Borneo) ห้างสมิท (Schmit) ห้างพิคเดคนแพทค์ (Pickenpack) ห้างมาร์ควอลด์ (Markwald) ซึ่งคนไทยเรียกว่า ห้างมากัว ห้างออดแมน (Odman) (Bangkok Calender, 1868 : 63)

โรงแรมโอเรียนเตล กรุงเทพฯ ถ่ายราวสมัย ร.5 (ก่อนพ.ศ.2453) โรงแรมนี้เคยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์มาตั้งแต่  พ.ศ.2408 แสดงถึงความมีอายุยืนนานที่สุดกว่าโรงแรมทั้งหลายของไทย ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ


นอกจากบริษัทห้างร้านและโรงงานแล้วยังมีกิจการโรงแรมที่ตั้งขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ได้แก่ ฟอล์ค โฮเต็ล (Falck’s Hotel) มีนาย ซี ฟอล์ค เป็นเจ้าของ เปิดกิจการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2406 และคาร์เตอร์ โฮเต็ล (Carter’s Hotel) มีนายพี คาร์เตอร์ เป็นเจ้าของ (Bangkok Calender, 1869 : 64) โรงแรมโอเรียลเตล กรุงเทพฯ (อเนก นาวิกมูล, 2549 : 24)

ถนนเจริญกรุง สร้างเป็น 2 ตอน คือถนนเจริญกรุงตอนใต้ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2404 และถนนเจริญกรุงตอนใน สร้างเมื่อ พ.ศ.2405
ทั้งสองตอนมาบรรจบกันที่สะพานเหล็กบน (สะพานดำรงสถิตย์) นิยมเรียกกันในสมัยนั้นว่า ถนนใหม่ (New Road)

ถนนบำรุงเมือง กว้าง 6 เมตร ความยาวตั้งแต่ถนนสนามไชยไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร